เมื่อวันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิภาพรรณ อนันต์พลศักดิ์ ประธานสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เเละผู้ช่วยศาสตราจารย์ผสันต์ ธัมปราชญ์ ประธานสาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ พร้อมด้วยตัวเเทนนิสิตจากสโมสรนิสิตคณะโลจิสติกส์ เข้าต้อนรับคณาจารย์ เเละนักเรียน จากโรงเรียนวิทยานุกูลนารี จังหวัดเพชรบูรณ์ เข้าศึกษาดูงานเพื่อให้นักเรียนได้รับการเเนะเเนวการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เเละสร้างเเรงบันดาลใจในการวางแผนการศึกษาเเละการประกอบอาชีพในอนาคต
Category: Activity
รองศาสตราจารย์ ดร.ณกร อินทร์พยุง คณบดีคณะโลจิสติกส์ พร้อมด้วยคณาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร เข้าร่วมกิจกรรมดำนา ณ มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว เพื่อปลูกฝังความสามัคคี ให้กับนิสิตสาขา Smart Farming ชั้นปีที่ 1 และนิสิตเทคโนโลยีการเกษตร นอกจากนี้ ได้เข้าเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass power plant) ขนาด 9.6 เมกกะวัตต์ บริษัท กรีน พาวเวอร์ 2 ตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว...
มื่อวันที่ 1 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2567 คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้จัดโครงการแนะแนวการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ณ โรงเรียนซับใหญ่วิทยาคม อ.ซับใหญ่ จ.ชัยภูมิ, โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ, โรงเรียนแก่งคอย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี, โรงเรียนบ้านนา (นายกพิทยากร) อ.บ้านนา จ.นครนายก และ โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และแนะแนวการศึกษาหลักสูตร และสาขาวิชาของคณะโลจิสติกส์...
โอกาสในการพัฒนาตนเองรอคุณอยู่ เปิดประสบการณ์จริง สู่โลกซัพพลายเชน การแข่งขัน Supply Chain Simulation สำหรับนิสิตคณะโลจิสติกส์ รวมทีม 5 คน แล้วมาพิสูจน์ความสามารถของคุณ! เกมนี้ไม่ใช่แค่เกม... แต่มันคือสนามทดสอบที่ท้าทาย ให้คุณได้สัมผัสประสบการณ์จริงในการบริหารจัดการซัพพลายเชนอย่างมืออาชีพ สิ่งที่คุณจะได้พบ ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา: คุณจะต้องวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่คาดเดาได้ยาก เหมือนสถานการณ์จริงในโลกธุรกิจ การจัดการวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ: คุณจะต้องสั่งซื้อวัตถุดิบตาม BOM (Bill Of Material) และเจรจาต่อรองกับซัพพลายเออร์จริง ๆ เพื่อให้ได้ราคาและเงื่อนไขที่ดีที่สุด การจัดการสต็อกสินค้า: คุณจะต้องรักษาสมดุลระหว่างการมีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าและการลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลัง...
คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดี กับ ผศ.ดร.อนิรุทธ์ ขันธสะอาด ในฐานะผู้เขียนร่วม (Co-Author) ที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเผยแพร่ในวารสาร Journal of Forecasting ตีพิมพ์เผยแพร่ ปี ค.ศ. 2024 หน้า 1-27 รูปแบบออนไลน์ ที่อยู่ในฐานข้อมูล SJR Q1 ด้าน Modeling and Simulationข้อมูลงานวิจัยสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่http://doi.org/10.1002/for.3189
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2567 คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้จัดโครงการศึกษาดูงาน ณ ท่าเรือ Kerry Siam Seaport ให้กับนิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน แขนงการจัดการอุตสาหกรรมพาณิชนาวี จำนวน 73 คน และ นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิทยาการเดินเรือ จำนวน3 คน นำโดย กัปตัน กิตติศักดิ์ มัฆวาล...
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 08.30 – 12.00 น. ศาสตราจารย์ ดร. ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์ พานิสิตเข้าศึกษาดูงาน ณ ท่าเทียบเรือ A5 บริษัท นามยง เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน) และท่าเทียบเรือ A1 บริษัท เอ็น วาย เค ออโต้ โลจิสติกส์ (ประเทศไทย)...
คณะโลจิสติกส์จัดโครงการติวปรับพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2567 รายวิชา Calculus 1/2567 ซึ่งเป็นรายวิชาบังคับของนิสิตชั้นปีที่ 1 ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาต่อยอดความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานในการต่อยอดองค์ความรู้เฉพาะศาสตร์ด้านโลจิสติกส์ในอนาคต โดยโครงการฯ ได้จัดขึ้นใน 2 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตบางแสนตั้งแต่วันที่ 5 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 17.00 - 19.00 น. ณ...
เมื่อวันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2567 สาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้จัดงานโครงการรับหมวกรับแหวน ปีการศึกษา 2567 เพื่อให้นิสิตชั้นปีที่ 1 ที่ผ่านการฝึกมาในช่วงระยะเวลาหนึ่งและผ่านวันที่เรียกว่า “วันใหญ่” ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่านิสิตชั้นปีที่ 1 ทั้งหมด 35 คน ได้ผ่านการทดสอบสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะเป็น นักเรียนเดินเรืออย่างเต็มตัว ซึ่งก็จะได้รับชุดเครื่องแบบอันแสดงให้เห็นถึงความเป็นนักเรียนเดินเรืออย่างเต็มภาคภูมิ ซึ่งต้องผ่านพิธีการที่เรียกว่าการรับหมวก ส่วนนิสิตสาขาวิทยาการเดินเรือชั้นปีที่ 2 ที่ได้ผ่าน การฝึก การเรียน และการเป็นทั้งผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา...
คณะโลจิสติกส์ ได้รับเชิญจาก หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้บริหาร P1 Academy การจำลองการทำการค้าระหว่างประเทศและบริหารจัดการโซ่อุปทานน้ำมัน (Trading and supply chain simulation) ผู้เข้าอบรบ จะถูกแบ่งเป็นกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ส่งออกน้ำมัน (Producer) กลุ่มโรงกลั่น (Refinery) กลุ่มลูกค้าหรือผู้ใช้น้ำมันสำเร็จรูป (อาทิ ผู้ค้าปลีกน้ำมัน สายการบิน โรงงานผลิต ฯลฯ) และตลาดกลางซื้อขายน้ำมันดิบ...