Supply Chain Engineering
แขนงวิชาวิศวกรรมโซ่อุปทาน
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Logistics and Supply Chain Management)
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย : วท.บ. (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)
ภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Logistics and Supply Chain Management)
การประกอบอาชีพ : เมื่อจบการศึกษาแล้วสามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิเคราะห์โซ่อุปทาน (Supply chain analyst) วิศวกรจัดซื้อ ผู้จัดการจัดหา วิศวกรโซ่อุปทาน ผู้จัดการด้านชัพพลายเชน ภายในโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม เริ่มตั้งแต่ผู้ผลิต จนถึงผู้บริโภคลำดับสุดท้าย รวมทั้ง การต่อยอดธุรกิจเดิม เป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทย์-คณิต หรือ แผนการเรียนภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ (ศิลป์-คำนวณ) มีความประพฤติดี ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งเป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือเป็นโรคที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และตามที่มหาวิทยาลัยจะประกาศเพิ่มเติม
หลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต
รายละเอียดโครงสร้างหลักสูตร ดาวน์โหลดที่นี่
|
* เลือกเรียนจากรายวิชาที่เปิดสอนในคณะโลจิสติกส์ได้อีกไม่เกิน 6 หน่วยกิต ทั้งนี้โดยความเห็นชอบของประธานสาขาวิชา
1. มีคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. มีวินัยและมีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ
3. มีความซื่อสัตย์สุจริต
4. สามารถอธิบายความรู้ หลักการ และทฤษฎีพื้นฐาน
5. สามารถประยุกต์ความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
6. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีด้านโซ่อุปทาน
7. แสวงหาความรู้ และประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
8. สามารถคิดแบบองค์รวม เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์
9. แก้ปัญหาเชิงวิศวกรรมโดยใช้ความรู้ด้านโช่อุปทาน
10. ปฏิบัติตนอย่างมีจิตสาธารณะ สำนึกในความเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าต่อสังคม และมีความเป็นไทย
11. มีภาวะผู้นำ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
12. รู้จักบทบาทหน้าที่และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
13. สามารถเลือกใช้ข้อมูลเชิงตัวเลข และมีทักษะพื้นฐานด้านดิจิทัล
14. สามารถเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
การรับสมัคร
มหาวิทยาลัยบูรพามีนโยบายสำคัญในการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาคือ มุ่งคัดเลือกคนเก่ง คนดี มีความสามารถสูง มุ่งกระจายโอกาสสู่ภาคตะวันออก และมุ่งความเสมอภาคเท่าเทียมกันในโอกาศเข้าการศึกษาด้วยนโยบายสำคัญดังกล่าวข้างต้นทำให้มีวิธีการ
คัดเลือกเข้าศึกษา ในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ในรูปแบบที่หลากหลาย และ มีสาระสำคัญในแต่ละวิธีสรุปดังนี้
– โครงการรับตรงในภาคตะวันออก จำนวนที่รับประมาณ ร้อยละ 50 ของจำนวนที่รับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการรับตรงทั่วประเทศ จำนวนรับประมาณร้อยละ 15 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการ Admissions จำนวนรับประมาณร้อยละ 30 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการพิเศษ จำนวนรับประมาณร้อยละ 5 ของจำนวนที่จะรับทั้งหมด
สมัครเข้าศึกษา >> http://regservice.buu.ac.th/index.html