Smart Farmming and Supply Chain

แขนงวิชาสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย     : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Logistics and Supply Chain Management

ชื่อปริญญา
ภาษาไทย     : วท.บ. (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)
ภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Logistics and Supply Chain Management)

คณะโลจิสติกส์ ม.บูรพา (วิทยาเขตบางแสน) ร่วมกับ คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา (วิทยาเขตสระแก้ว) จัดทำหลักสูตรสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจริยะ โดยมีการเรียนการสอนใน 2 วิทยาเขต คือ
• ชั้นปีที่ 1 และ 2 เรียนที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
• ชั้นปีที่ 3 และ 4 เรียนที่คณะโลจิสติกส์ ม.บูรพา วิทยาเขตบางแสน

คุณสมบัติในการสมัครขั้นต่ำ : วุฒิการศึกษา ม.6/ ปวช./ กศน. หรือเทียบเท่า มีความประพฤติดี ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งเป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือเป็นโรคที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และตามที่มหาวิทยาลัยจะประกาศเพิ่มเติม

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 123 หน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาทักษะการใช้ชีวิตคุณภาพ 7 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพลเมืองไทยและพลเมืองโลก 10 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่เสริมสมรรถนะการทางานในโลกอนาคต 7 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 93 หน่วยกิต
วิชาแกน 18 หน่วยกิต
แคลคูลัส 3(3-0-6)
กฎหมายธุรกิจ 3(3-0-6)
สถิติเบื้องต้นสำหรับวิทยาศาสตร์ 3(3-0-6)
การบัญชีเพื่อการจัดการในธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์ 3(3-0-6)
หลักเศรษฐศาสตร์ 3(3-0-6)
หลักการตลาด 3(3-0-6)
วิชาบังคับสาขา 36 หน่วยกิต
แรงบันดาลใจในสายงานโลจิสติกส์ 1(0-2-1)
การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 3(3-0-6)
การขนส่งและการกระจายสินค้า 3(3-0-6)
การจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง 3(3-0-6)
การจัดการด้านการปฏิบัติการ 3(3-0-6)
ภาษาอังกฤษโลจิสติกส์ 3(3-0-6)
เทคนิคการนำเสนองาน 2(1-2-3)
การใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองสถานการณ์ 3(2-2-5)
การสังเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ 3(2-2-5)
การจัดการคุณภาพ 3(3-0-6)
จริยธรรมทางธุรกิจ 1(0-2-4)
สัมมนาและการวิจัยด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 2(1-2-3)
วิชาโครงการ 1 3(0-6-3)
วิชาโครงการ 2 3(0-6-3)
วิชาเอกบังคับ
ทักษะเกษตรพื้นฐาน
     ความสำคัญทางเศรษฐกิจของการเกษตร การจัดการฟาร์ม การผลิตพืชไร่ การผลิตพืชสวน การผลิตพืชสมุนไพร การเลี้ยงสัตว์สำคัญทางเศรษฐกิจ ทักษะพื้นฐานทางการเกษตร
3(2-2-5)
เดินตามรอยปราชญ์เกษตร
     หลักการ แนวคิดของความพอเพียง การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินชีวิตของปราชญ์เกษตรชาวบ้าน
2(0-4-2)
เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวและบรรจุภัณฑ์
     เทคโนโลยีและการจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยวผลิตผลทางการเกษตร การเก็บเกี่ยว ระบบขนส่ง การเก็บรักษา คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของภาชนะบรรจุ ชนิดและคุณสมบัติของวัสดุบรรจุภัณฑ์ การทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ มาตรฐานและกฎหมายการบรรจุ บรรจุภัณฑ์อาหาร ความปลอดภัยของบรรจุภัณฑ์ต่อสุขภาพ การนำกลับมาใช้ใหม่และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3(3-0-6)
ถอดบทเรียนสมาร์ทฟาร์มเมอร์
     หลักการ แนวคิด การเป็นผู้ประกอบการ แนวทางการดำเนินการฟาร์มอัจฉริยะ การบริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ ทิศทางการจัดการฟาร์มในอนาคต
1(0-2-1)
การจำลองและการออกแบบระบบฟาร์ม
     ฟาร์ม ระบบฟาร์มพืช ระบบฟาร์มสัตว์ การออกแบบฟาร์ม การออกแบบระบบฟาร์ม การสร้างฟาร์มจำลองเสมือนจริงด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
3(3-0-6)
เซนเซอร์และปัญญาประดิษฐ์ในอุตสาหกรรมเกษตร
     แรงงานในภาคอุตสาหกรรมเกษตร กระบวนการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาปรับใช้ในธุรกิจการเกษตร เทคโนโลยีเพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขัน เซนเซอร์ ระบบสื่อสารไร้สาย อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ระบบปัญญาประดิษฐ์ การเกษตรแม่นยำ การประยุกต์ใช้เซนเซอร์ และปัญญาประดิษฐ์ในอุตสาหกรรมเกษตร
3(3-0-6)
โซ่อุปทานอัตโนมัติ
     ระบบอัตโนมัติเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน ระบบตรวจสอบวัตถุและระบุตำแหน่งอัตโนมัติ แผนที่ความละเอียดสูงสำหรับยานพาหนะไร้คนขับ หน่วยประมวลผลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ (ระบบจักรกลและไฮดรอลิค) การประยุกต์ใช้โดรนเพื่อการเกษตร หุ่นยนต์เกษตรกร มาตรฐานและระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล ศูนย์กระจายและเติมเต็มสินค้าสินค้าอัตโนมัติ อีคอมเมิร์ซโลจิสติกส์ ตัวอย่างกรณีศึกษา
3(3-0-6)
วิชาเลือก (ให้เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต)
หัวข้อเลือกสรร
     การนำเสนอและอภิปรายหัวข้อที่น่าสนใจ โดยเน้นเรื่องที่เป็นความรู้ใหม่ทางด้านโลจิสติกส์
2(2-0-4)
นวัตกรรมและสมาร์ทเทคโนโลยีในงานโลจิสติกส์
     นวัตกรรมและเทคโนโลยีอุบัติใหม่ โลจิสติกส์และโซ่อุปทานดิจิทัล ระบบสารสนเทศการจัดการสินค้าคงคลัง ระบบลานและคลังสินค้า ระบบการจัดเก็บข้อมูล ระบบการจัดการยานพาหนะ ระบบอัจฉริยะ การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ อนาคตของเทคโนโลยีโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จริยธรรมในนวัตกรรมเทคโนโลยี พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
3(3-0-6)
การเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจโลจิสติกส์
     ความหมาย ความสำคัญ และคุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ การวิเคราะห์ปัญหาและโอกาสของผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ การศึกษาความเป็นไปได้ การแสวงหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ การจัดตั้งธุรกิจใหม่ หลักการเขียนแผนธุรกิจ การวิเคราะห์สถานการณ์ธุรกิจและการแข่งขัน การทำการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์
3(3-0-6)
เทคนิคเอ็กเซลขั้นสูงและสเปรดชีท
     การเรียกดูข้อมูลและจัดการสมุดงาน การเรียกใช้ฟังก์ชันขั้นสูง การสร้างสมการที่ซับซ้อน การส่งออกและนำเข้าข้อมูลจากโปรแกรมต่างๆ การออกแบบสเปรดชีทเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาทางโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การสร้าง วิเคราะห์ และปรับเปลี่ยนข้อมูลจากหลายแหล่งด้วยตารางไพวอต การเขียนโปรแกรมชุดคำสั่ง VBA
3(2-2-5)
การจัดการโซ่อุปทานระดับโลก
     ความสำคัญของโซ่อุปทานที่มีต่อธุรกิจระหว่างประเทศและฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกลยุทธ์ในการจัดการและการบริหารระบบโซ่อุปทานระหว่างประเทศเบื้องต้น เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดการระบบโซ่อุปทานระหว่างประเทศ ตลอดจนบทบาทของกลยุทธ์ด้านการจัดการโซ่อุปทาน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนขององค์กร โดยการประเมินกิจกรรมทางด้านการจัดการ
โลจิสติกส์และโซ่อุปทานผ่านทางการประเมิน 3 มิติ คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ และด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
3(3-0-6)
การลงทุนและการบริหารหลักทรัพย์
     การจัดการการเงินส่วนบุคคลและการออม ความรู้เบื้องต้นของการวางแผนการลงทุน สภาพแวดล้อมในการลงทุน ประเภทของสินทรัพย์ทางการเงิน กลไกการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ การลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุน การวิเคราะห์ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ การวิเคราะห์หลักทรัพย์ด้วยข้อมูลในงบการเงิน การจัดกลุ่มหลักทรัพย์เพื่อการลงทุน
3(3-0-6)
วิทยาศาสตร์ชีวภาพสำหรับอุตสาหกรรมเกษตร
     แนวคิดและทฤษฎีด้านชีววิทยาและชีววิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต สัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาของพืชเกษตร สัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาของสัตว์เกษตร ระบบการเพาะปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน วิทยาศาตร์การอาหารและโภชนาการ เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรและอาหาร พลวัตอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์ชีวภาพในอาหารและการเกษตร
3(3-0-6)
การบริหารความเสี่ยงด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์
     สินค้าเกษตรและสินค้าโภคภัณฑ์ ความผันผวนของราคาสินค้าสินค้าโภคภัณฑ์ การซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ ปัจจัยความเสี่ยง แนวคิดการจัดการความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยงด้านราคา กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง ระบบเกษตรพันธสัญญา ดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์และการซื้อขายในตลาดล่วงหน้า
3(3-0-6)
เกษตรกลวิธาน
     ทฤษฏีไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานทดแทน โมเด็มเราเตอร์ เซ็นเซอร์วัดความชื้น เซ็นเชอร์วัดอุณหภูมิ สมาร์ทสวิตซ์และการประยุกต์ใช้งาน
3(3-0-6)
โครงงานขั้นกลาง
     การค้นคว้าเกี่ยวข้องกับวิชาที่สนใจ การกำหนดปัญหาและสมมติฐานการวิจัย การออกแบบวิจัยและพัฒนา การนำเสนอผลงานวิจัย การศึกษาดูงานนอกสถานที่
3(2-2-5)
ถอดบทเรียนการตลาดเกษตร
     ถอดบทเรียนทางการตลาดจากสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ตัวอย่างความล้มเหลว ข้อผิดพลาด และความสำเร็จ กรอบแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ วิธีการ เครื่องมือ ขั้นตอน และกลยุทธ์
3(3-0-6)
การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน 9 หน่วยกิต
การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานทางโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 9(0-27-13)
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

*ให้เลือกเรียนรายวิชาใดๆ จากรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยบูรพา หรือ เลือกเรียนจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นทั้งภายในและภายนอก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

6 หน่วยกิต

 

1. อธิบายทฤษฎี และวิธีการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
2. เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
3. เลือกใช้ภาษาเพื่อสื่อสารในงานด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานอย่างเหมาะสม
4. ปฏิบัติตามระเบียบวินัยของนักโลจิสติกส์ได้อย่างถูกต้อง
5. แสดงออกซึ่งความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองและส่วนรวมในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับมอบหมาย
6. สามารถทำงานเป็นทีม มีภาวะความเป็นผู้นำและเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
7. เสนอแนวทานในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการจัดการฟาร์มโดยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ
8. บริหารจัดการงานฟาร์มได้เหมาะสม
9. เลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขและพัฒนางานด้านการเกษตร

การรับสมัคร

มหาวิทยาลัยบูรพามีนโยบายสำคัญในการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาคือ มุ่งคัดเลือกคนเก่ง คนดี มีความสามารถสูง มุ่งกระจายโอกาสสู่ภาคตะวันออก และมุ่งความเสมอภาคเท่าเทียมกันในโอกาศเข้าการศึกษาด้วยนโยบายสำคัญดังกล่าวข้างต้นทำให้มีวิธีการ

คัดเลือกเข้าศึกษา ในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ในรูปแบบที่หลากหลาย และ มีสาระสำคัญในแต่ละวิธีสรุปดังนี้
– โครงการรับตรงในภาคตะวันออก จำนวนที่รับประมาณ ร้อยละ 50 ของจำนวนที่รับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการรับตรงทั่วประเทศ จำนวนรับประมาณร้อยละ 15 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการ Admissions จำนวนรับประมาณร้อยละ 30 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการพิเศษ จำนวนรับประมาณร้อยละ 5 ของจำนวนที่จะรับทั้งหมด

สมัครเข้าศึกษา >> http://regservice.buu.ac.th/index.html

 

Faculty

Sorry no post found.