M.Sc. (Supply Chain Engineering)
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน | กลุ่มวิชาเอกเลือก วิศวกรรมโซ่อุปทาน (Supply Chain Engineering)
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Logistics and Supply Chain Management
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย : วท.ม. (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)
ภาษาอังกฤษ : M.Sc. (Logistics and Supply Chain Management)
ชื่อประกาศณียบัตร (เพิ่มเติม) : วิศวกรรมโซ่อุปทาน (Supply Chain Engineering)
หลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต โดยมีรายวิชาของกลุ่มวิชาเอก วิศวกรรมโซ่อุปทาน (Supply Chain Engineering) จำนวนไม่น้อยกว่า 6 รายวิชา (18 หน่วยกิต) ดังนี้
การสังเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ (Business Data Analytics)
บทบาทและความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจต่อความสำเร็จในการจัดการธุรกิจสมัยใหม่ หลักการของเทคนิคเบื้องต้นที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจเพื่อการแก้ปัญหาและการจัดการทางธุรกิจ ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงบรรยาย การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ การวิเคราะห์เชิงอภิปราย และการประยุกต์ใช้เทคนิคเบื้องต้นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจในการจัดการและตัดสินใจทางธุรกิจ
การวิจัยดำเนินงานสำหรับวิศวกรรมโซ่อุปทาน (SCE Operations Research)
ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องของการสร้างและใช้แบบจำลองวิจัยดำเนินงาน อาทิเช่น แบบจำลองเชิงเส้น แบบจำลองแถวคอย แบบจำลองสถานการณ์ และแบบจำลองตัดสินใจอื่น ๆ รวมทั้งการนำเครื่องมือแบบจำลองทางวิจัยดำเนินงาน มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านโลจิสติกส์
ระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม (Automation Systems in Industrial Applications)
บทบาทของสถาปัตยกรรมข้อมูลในฟังก์ชันโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เทคโนโลยีที่ใช้ในการวางแผนและการจัดการโซ่อุปทาน ฟังก์ชันทั่วไปของระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม ความเข้าใจเกี่ยวกับโปรแกรมระบบควบคุม ประเภทของอุปกรณ์เซ็นต์เซอร์ที่นำมาประยุกต์ใช้งาน หุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ กรณีศึกษา
วิทยาศาสตร์ข้อมูลในโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ (Data Science in Supply Chain and Logistics)
การวิเคราะห์ข้อมูลในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นสำหรับการใช้ภาษา R การประยุกต์ใช้ภาษา R ร่วมกับระบบฐานข้อมูลสำหรับข้อมูลขนาดใหญ่ อาทิเช่น Hadoop การใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูลแบบต่าง ๆ อาทิเช่น การจัดกลุ่มข้อมูล การจำแนกข้อมูล การจับคู่ข้อมูล และการลดขนาดข้อมูล เป็นต้น
การจำลองสถานการณ์ในโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ (Simulation in Supply Chain and Logistics)
ความรู้ความเข้าใจเรื่องของแนวคิดและความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแบบจำลองสถานการณ์ องค์ประกอบของแบบจำลองสถานการณ์ การใช้โปรแกรมประยุกต์ MATLAB: SimEvents ในการจำลองและวิเคราะห์ระบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ อาทิเช่น การปฏิบัติการคลังสินค้าและการจัดการสินค้าคงคลัง เป็นต้น
การออกแบบโครงข่ายโซ่อุปทาน (Supply Chain Network Design)
ความเข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานและความสัมพันธ์ของโซ่อุปทาน อาทิเช่น ต้นทุนการผลิต ต้นทุนการกระจายสินค้า ตำแหน่งที่ตั้งของโรงงานผลิต คลังสินค้า และลูกค้า การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อช่วยในการออกแบบโครงข่ายโซ่อุปทาน ยกตัวอย่างเช่น การเลือกตำแหน่งที่ตั้งโรงงานผลิต คลังสินค้า เพื่อพิจารณาว่าควรผลิตสินค้าประเภทไหนที่โรงงานใด กระจายสินค้าไปยังลูกค้าได้อย่างไรจึงมีความเหมาะสมที่สุด
การรับสมัคร
เป็นไปตามประกาศของ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยที่ กลุ่มวิชาเอกเลือก วิศวกรรมโซ่อุปทาน (Supply Chain Engineering) จะเริ่มเปิดสอนสำหรับนิสิตปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป
Faculty
Sorry no post found.