เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 คณะโลจิสติกส์เห็นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในธุรกิจด้านโลจิสติกส์ ก็คือ มาตรการ IMO 2020 จึงได้จัดโครงการ Logistics Talk ครั้งที่ 13 หัวข้อ “The 2020 IMO Fuel Sulphur Regulation” ซึ่งเป็นข้อกำหนดขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศในการลดการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ หรือกำมะถันให้เหลือ 0.5% จากปัจจุบัน 3.5% มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ....
Blog
นิสิตใหม่ระดับ ป.โท เปิดเรียนในวันที่ 17-18 สิงหาคม พ.ศ. 2562 - 17 สิงหาคม เรียนวิชา การบริหารระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ (Global Logistics Management) เวลา 09.00 – 16.30 น. ห้อง 703 อาคารคณะโลจิสติกส์ - 18 สิงหาคม เรียนวิชา การจัดการคลังสินค้าและกระจายสินค้า (Warehousing and...
วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 คณะโลจิสติกส์ จัดโครงการบริการวิชาการ “Logistics Talk ครั้งที่ 12 หัวข้อ เทคโนโลยี 5G และการประยุกต์ใช้งาน” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.เจษฎา ศิวรักษ์ เป็นวิทยากรบรรยายในครั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารด้วยโปรโตคอล 5G การประยุกต์ใช้งานในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ปัญหาอุปสรรค โอกาสและแนวทางการพัฒนาในอนาคต ณ ห้องประชุมประมวล จันทร์ชีวะ ชั้น 4 คณะโลจิสติกส์...
เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 คณะโลจิสติกส์ ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวจิรัชญา อนุพันธ์ ที่ได้รับ รางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 จากกิจกรรม "การประกวดผลงานนวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ จากสถาบันการศึกษา สู่ภาคอุตสาหกรรมไทย ประจำปี 2562" ณ เมืองทองธานี ห้อง Sapphire 101 จัดโดยกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งใช้ชื่อทีมว่า 4 Futur (โฟร์ ฟิวเจอร์) ...
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะโลจิสติกส์ขึ้น โดยมี ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรฝ่ายสนับสนุน และนิสิต เข้าร่วมกิจกรรม ทำบุญถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ จำนวน 9 รูป นอกจากนี้ ยังได้รับความอนุเคราะห์จาก บริษัทในเครือ TMM Group ได้มอบทุนจำนวนเงินทั้งสิ้น 30,000 บาท เพื่อใช้ในการซ่อมแซมและบำรุงรักษาเรือของคณะโลจิสติกส์ต่อไป
วิชาที่ต้องลงทะเบียน สำหรับนิสิตระดับ ป.โท รุ่น 17 รหัสนิสิตขึ้นต้นด้วย 62 ทั้ง แผน ก. และ แผน ข. รหัสวิชา 91664161 การบริหารระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ (Global Logistics Management) รหัสวิชา 91655361 การจัดการคลังสินค้าและกระจายสินค้า (Warehousing and Distribution Management) รหัสวิชา 91655161 การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์ (Strategic...
การนำเข้าสินค้าและการส่งออกสินค้าในปัจจุบันมีการขยายตัวเติบโตตามความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีหลักการที่พยายามลดอุปสรรคทางการค้าลงเนื่องจากขั้นตอนการนำเข้าสินค้ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และมีปัญหาทางด้านต้นทุนผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าสินค้าจะต้องทำความเข้าใจและศึกษาข้อปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อให้การประกอบธุรกิจนำเข้าสินค้าเป็นไปอย่างสะดวกและได้รับผลสำเร็จคุ้มค่ากับการลงทุนการติดต่อจัดหาสินค้าวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ เสมือนเป็นโลกไร้พรมแดน แต่ในการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างประเทศ มีขั้นตอนการนำเข้าและการส่งออก ตลอดจนระเบียบพิธีการศุลกากรต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคทางการค้า สิทธิประโยชน์การนำเข้าส่งออกที่ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องทราบเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนและการขยายกิจการ นอกจากนี้ กรมศุลกากรได้มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย และเป็นสากล และกรมศุลกากรมีนโยบายสนับสนุนให้ผู้ประกอบการให้ติดต่อกับกรมศุลกากรโดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวแทน ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรจะทราบถึงขั้นตอนการดำเนินงานเกี่ยวกับการนำเข้า และส่งออกสินค้า ระเบียบพิธีการศุลกากรที่สำคัญ ตลอดจนทั้งการจัดพิกัดสินค้า การกำหนดราคาศุลกากร การอุทธรณ์การประเมินราคา การให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดสากล...
เมื่อวันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09.00 – 12.30 น. คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับ คณะการจัดการโลจิสติกส์และการคมนาคมขนส่ง สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จัดงานการประชุมวิชาการ Smart Logistics Conference (SLC) ครั้งที่ 2 เพื่อให้นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา บุคคลทั่วไปที่สนใจ รวมถึงผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องทางด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทั้งในระดับภาครัฐและเอกชน ได้มีเวทีในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ...
ปัจจุบันการจัดการโลจิสติกส์ เป็นเป้าหมายสำคัญที่ผู้ประกอบการสามารถใช้เป็นแหล่งที่มาของความได้เปรียบ ในการแข่งขัน ทั้งในระดับธุรกิจและระดับประเทศ เนื่องจากด้วยกระแสโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลให้มีการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรง เพิ่มมากขึ้น และการเปิดเสรีทางการค้าที่มากขึ้น ส่งผลให้ภาคธุรกิจจึงต้องยกระดับความสามารถในการดำเนินธุรกิจในทุกวิถีทางที่เป็นไปได้ ทั้งการลดต้นทุนธุรกิจและสร้างมูลค่าเพิ่มใหม่ ๆ เสนอลูกค้า การบริหารจัดการกระบวนการนำส่งสินค้าจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคตลอดห่วงโซ่อุปทาน Logistics 4.0 จึงเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในกิจกรรมต่าง ๆ ของการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์หากมองแนวคิดของโลจิสติกส์ซึ่งถือเป็นงานบริหารจัดการความต้องการของ Demand และ Supply การพัฒนาในยุค Logistics 4.0 จะช่วยให้ช่องว่างระหว่างโซ่อุปทานสั้นลงซึ่งในการประกอบธุรกิจทั่วไป ผู้ประกอบการจะคำนึงถึงต้นทุนการผลิตเป็นหลักและพยายามหาวิธีลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงเพื่อต่อสู้กับคู่แข่งรายอื่น ๆ ที่อยู่ในตลาด เนื่องจากการเพิ่มราคาสินค้าเพื่อรักษาระดับรายได้ให้เท่าเดิมนั้น ค่อนข้างจะเป็นไปได้ยากสำหรับลักษณะโครงสร้างตลาดและภาวะทางการแข่งขันในปัจจุบัน เมื่อต้นทุนเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญ...