รองศาสตราจารย์ ดร.ณกร อินทร์พยุง คณบดีคณะโลจิสติกส์ พร้อมด้วยคณาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร เข้าร่วมกิจกรรมดำนา ณ มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว เพื่อปลูกฝังความสามัคคี ให้กับนิสิตสาขา Smart Farming ชั้นปีที่ 1 และนิสิตเทคโนโลยีการเกษตร นอกจากนี้ ได้เข้าเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass power plant) ขนาด 9.6 เมกกะวัตต์ บริษัท กรีน พาวเวอร์ 2 ตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว โดยผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเศษวัสดุต่าง ๆ ที่เป็นชีวมวล หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น จากเปลือกไม้ยูคาลิปตัส ไม้ผสม ทะลายปาล์ม ใยปาล์ม เหง้ามัน ใบอ้อย ฯลฯ
Key Success Factors ของโรงไฟฟ้าชีวมวล ขึ้นอยู่กับการบริหารซัพพลายเชน ฝ่ายจัดหา/จัดซื้อวัตถุดิบที่เป็นชีวมวลหรือของเหลือทางการเกษตรฯ (Feed stock) ป้อนเข้าสู่โรงงาน ในปริมาณ 200 – 300 ตัน ต่อวัน เพื่อผลิตไฟ้ฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง 24/7 รวมทั้ง การบริหารส่วนต่างราคา (กำไร) ของ Feed stock ที่รวบรวมมาจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อให้ Stakeholders ในซัพพลายเชน ได้รับประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริหารต้นทุนการขนส่ง จากแหล่ง Feed stock เข้าสู่โรงงาน ซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการผลิตไฟฟ้า และส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทโดยตรง บริษัทฯ ได้จำหน่ายไฟฟ้าตามสัญญาการขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Very Small Power Producer (VSPP ขนาดต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์), Feed-in Tariff (Fit) ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตลอดอายุสัญญา 15 ปี