การนำเข้าสินค้าและการส่งออกสินค้าในปัจจุบันมีการขยายตัวเติบโตตามความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีหลักการที่พยายามลดอุปสรรคทางการค้าลงเนื่องจากขั้นตอนการนำเข้าสินค้ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และมีปัญหาทางด้านต้นทุนผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าสินค้าจะต้องทำความเข้าใจและศึกษาข้อปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อให้การประกอบธุรกิจนำเข้าสินค้าเป็นไปอย่างสะดวกและได้รับผลสำเร็จคุ้มค่ากับการลงทุนการติดต่อจัดหาสินค้าวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ เสมือนเป็นโลกไร้พรมแดน แต่ในการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างประเทศ มีขั้นตอนการนำเข้าและการส่งออก ตลอดจนระเบียบพิธีการศุลกากรต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคทางการค้า สิทธิประโยชน์การนำเข้าส่งออกที่ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องทราบเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนและการขยายกิจการ นอกจากนี้ กรมศุลกากรได้มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย และเป็นสากล และกรมศุลกากรมีนโยบายสนับสนุนให้ผู้ประกอบการให้ติดต่อกับกรมศุลกากรโดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวแทน ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรจะทราบถึงขั้นตอนการดำเนินงานเกี่ยวกับการนำเข้า และส่งออกสินค้า ระเบียบพิธีการศุลกากรที่สำคัญ ตลอดจนทั้งการจัดพิกัดสินค้า การกำหนดราคาศุลกากร การอุทธรณ์การประเมินราคา การให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดสากล ความรู้เกี่ยวกับการค้าชายแดน เพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษตลอดจนถึง ด้านการลดความเสี่ยง ในการลงทุนโดยการประกันภัยสินค้า ซึ่งเป็นความรู้ที่จะเสริมให้ผู้ประกอบการมีความสามารถที่จะขยายธุรกิจไปต่างประเทศ และลดต้นทุนการดำเนินงานการนำเข้าส่งออกได้ นำไปสู่การได้รับผลสำเร็จคุ้มค่ากับการลงทุน
บรรยายโดย… ดร.อรุณี แสงวารีทิพย์ และ ศ(พิเศษ) ประมวล จันทร์ชีวะ
อาจารย์ สันติชุม ศรีรัญเพชร นักวิชาการศุลกากรชำนาญการพิเศษ อดีต ผอ.ส่วนมาตรฐานราคาศุลกากร 2 (สมพ) และผู้เชี่ยวชาญจากกรมศุลกากร
** เริ่มเรียน วันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2563 ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00-16.00 น. ณ ห้อง Log2 – 704 คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ครั้งที่ | จำนวนชั่วโมง | หัวข้อ |
---|---|---|
1 | 6 ชั่วโมง | · เขตปลอดอากร คลังสินค้าทัณฑ์บน
· พิธีการศุลกากรนำเข้า-ส่งออก (ตอนที่ 1 ทางเรือ/ ทางอากาศ) |
2 | 6 ชั่วโมง | · ความรู้ความเข้าใจ ผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ (Authorized Economic Operator, AEO)
· พิธีการศุลกากรนำเข้า-ส่งออก (ตอนที่ 2 ทางไปรษณีย์) · กิจกรรมสังสรรค์ประจำรุ่น ร่วมกับคณาจารย์คณะโลจิสติกส์ ณ ร้านอาหารริมทะเลบางแสน |
3 | 6 ชั่วโมง | · พิธีการศุลกากรนำเข้า-ส่งออก (ตอนที่ 3 ทางบก)
· พิธีการศุลกากรเฉพาะอย่าง (ถ่ายลำ ผ่านแดน re-export) |
4 | 6 ชั่วโมง | · พิธีการศุลกากรเฉพาะอย่าง (ถ่ายลำ ผ่านแดน) (ต่อ)
· พิกัดอัตราศุลกากร (ภาค 1 หลักเกณฑ์การตีความ) |
5 | 6 ชั่วโมง | · พิกัดอัตราศุลกากร (ภาค 2 และภาค 3 พิกัดขาเข้า – พิกัดขาออก)
· พิกัดอัตราศุลกากร (ภาค 4 ของยกเว้นอากร) |
6 | 6 ชั่วโมง | · ระบบราคาศุลกากร
· ระบบการอุทธรณ์ราคา |
7 | 6 ชั่วโมง | · สิทธิพิเศษ การขอคืนเงินอากร การผลิตเพื่อส่งออก
· Incoterms กับ ภาระหน้าที่ในการดำเนินพิธีการศุลกากร · การเลือกซื้อประกันภัยที่เหมาะสมและเงื่อนไขเพิ่มพิเศษเพื่อคุ้มครองค่าภาษีศุลกากร · การระงับคดีศุลกากรและคำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ |
8 | 6 ชั่วโมง | · Liability ของการส่งสินค้า และการสำแดงผิดพิกัด
· ศึกษาดูงานด้านพิธีการ ในส่วนที่สำคัญต่อการนำเข้าส่งออก ที่ด่านศุลกากร อรัญประเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านศุลกากร |
** ตารางการฝึกอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
คุณสมบัติผู้สมัคร สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ทุกสาขา หรือเทียบเท่า หรือประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 5 ปี
** ผู้อบรมที่ผ่านการประเมิน สามารถเทียบรายวิชาหลักสูตรปริญญาโท สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานได้ 3 หน่วยกิต
อัตราค่าลงทะเบียน
1. บุคคลทั่วไป หลักสูตรละ 15,000 บาท
2. ศิษย์เก่าคณะโลจิสติกส์ หรือ หน่วยงานที่มีข้อตกลงความร่วมมือ กับคณะโลจิสติกส์ ลด 20%
** ผู้เข้าอบรมจะได้รับเอกสาร อาหารว่าง-เครื่องดื่ม 2 มื้อ และอาหารกลางวัน 1 มื้อ
การรับสมัคร
ตั้งแต่บัดนี้ – 17 เมษายน พ.ศ.2563
ลงทะเบียน คลิ๊กที่นี่
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นางสาววรัญญา ด้นประดิษฐ
โทร (038)103100 , (038)103102
E-mail : waranyad@go.buu.ac.th