ต้นแบบโมเดลเศรษฐกิจ BCG ข้าวฟ่าง สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร พลังงานหมุนเวียนโรงไฟฟ้าไบโอก๊าซ และเอทานอล กลับคืนสู่ปุ๋ยชีวภาพ

ต้นแบบโมเดลเศรษฐกิจ BCG ข้าวฟ่าง สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร พลังงานหมุนเวียนโรงไฟฟ้าไบโอก๊าซ และเอทานอล กลับคืนสู่ปุ๋ยชีวภาพ

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2567 คณะโลจิสติกส์ x คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.บูรพา ภายใต้หลักสูตร สมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ ขับเคลื่อนโครงการสำคัญ “ต้นแบบโมเดลเศรษฐกิจ BCG ข้าวฟ่าง สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร พลังงานหมุนเวียนโรงไฟฟ้าไบโอก๊าซ และเอทานอล กลับคืนสู่ปุ๋ยชีวภาพ” ซึ่งเป็นแนวคิดการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยใช้ ข้าวฟ่าง เป็นต้นแบบ ซึ่งจะช่วยปลูกฝังแนวคิดเศรษฐกิจ BCG และนำไปขยายผล หรือปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทของพื้นที่และชุมชน เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกร อย่างยั่งยืนทั้งนี้ ได้ความอนุเคราะห์จาก บริษัท เอี่ยมบูรพา จำกัด อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลังรายใหญ่ของประเทศ ซึ่งมีพื้นที่โรงงานและเกษตรครบวงจรกว่า 3 พันไร่ อนุญาตให้เข้าเยี่ยมชมกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ (Biogas) และไฟฟ้าจากของเหลือทิ้งจากการผลิตฯ รวมทั้ง โรงงานต้นแบบผลิตเอทานอลจากกากมันสำปะหลัง”ข้าวฟ่าง” พืชท้องถิ่นที่มีศักยภาพสูง ในการเพาะปลูกในพื้นที่แห้งแล้ง ต้องการน้ำน้อย ทนต่อสภาพแวดล้อม (เช่น พื้นที่ดินส่วนใหญ่ในจังหวัดสระแก้ว) และให้ผลผลิตต่อไรสูง การจัดการห่วงโซ่คุณค่าของพืช ข้าวฟ่าง เริ่มจากกระบวนการเพาะปลูกและแปรแปรรูปเมล็ดข้าวฟ่าง สู่ผลิตภัณฑ์อัตตาลักษณ์ท้องถิ่น อาทิเช่น มอลต์ข้าวฟ่าง (Sorghum malt) และเครื่องดื่มสันทนาการ ปราศจากกลูเตน (Gluten free) จากนั้น ใช้ส่วนของลำต้น สร้างธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ไบโอเอทานอล และไฟฟ้าจากก๊าชชีวภาพที่เกิดจากกระบวนการหมักลำต้นที่เหลือทิ้งจากการแปรรูปแล้ว และกากที่เหลือจากกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ สามารถนำไปใช้เป็นสารปรับปรุงดิน (ปุ๋ยชีวภาพ)

#AGLOG