Author: Supamas

เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2568 คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร นำโดยนายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมและหารือร่วมกับคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนากำลังคนของประเทศ โดยเฉพาะในบริบทของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยในอนาคต ในการหารือครั้งนี้ คณะโลจิสติกส์ได้สะท้อนบทบาทในฐานะ “ต้นน้ำ” ของการผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ และหลักสูตรต่อเนื่องสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับอนุปริญญาแล้วต้องการต่อยอดองค์ความรู้เป็นระดับปริญญาตรีเพื่อประโยชน์ในด้านหน้าที่การงาน รวมถึงการดำเนินงานด้านสมาร์ทฟาร์มมิ่งร่วมกับคณะเทคโนโลยีการเกษตรและคู่ความร่วมมืออื่น ๆ โดยเน้นให้นิสิตได้ฝึกแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริง (Problem-based Learning) เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมาธิการฯ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการจัดการศึกษาเฉพาะทางเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี...

ผศ.ดร.อนิรุทธ์ ขันธสะอาด อาจารย์ประจำสาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการ Smart Management in Industrial and Logistics Engineering (SMILE 2025) ระหว่างวันที่ 15-20 เมษายน พ.ศ. 2568 จัดขึ้นที่ ESITH ราชอาณาจักรโมร็อกโก โดยในงานจะมีหลากหลายกิจกรรม อาทิ การนำเสนอผลงานวิชาการ การบรรยายเกี่ยวกับอนาคตของโลกดิจิตัลและเศรษฐกิจหมุนเวียน ตลอดจนกลยุทธ์ในการสร้างความยืดหยุ่นสำหรับห่วงโซ่อุปทานของผู้ประกอบการในโมร็อกโก ทั้งนี้ ผศ.ดร.อนิรุทธ์...

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ ได้จัดโครงการฝึกภาคปฏิบัติทางทะเล ประจำปีการศึกษา 2567 เพื่อให้นิสิตสาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ มีทักษะชีวิตและอาชีพคนประจำเรือ มีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม มีทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี มีทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะด้านความรู้ มีทักษะทางเชาว์ปัญญา มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งนิสิตสาขาวิทยาการเดินเรือชั้นปีที่ 1 และ 2 คณะโลจิสติกส์ ได้ลงฝึกภาคปฏิบัติทางทะเล ระหว่างวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2568...

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจและอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ (หลักสูตรต่อเนื่อง) ได้มีการสำรวจรวบรวมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อพัฒนาหลักสูตรให้ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ที่ปัจจุบันเน้นเรื่องของการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่จะต้องใช้เครื่องการวิเคราะห์เชิงปริมาณเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้นิสิตชั้นปีที่ ๒ มีความพร้อมในการออกฝึกงานในภาคการศึกษาถัดไป หลักสูตรจึงได้จัดให้มีโครงการอบรมเตรียมความพร้อมก่อนออกฝึกงานประจำภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๗ โดยแบ่งการอบรมออกเป็น ๑ วัน ตั้งแต่วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๘ ที่ห้องเรียน LOG๒-๔๐๑ อาคารเรียนคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา สำหรับตัวอย่างเนื้อหาในการอบรม ประกอบด้วย ชี้แจงรายละเอียดการเขียนเรซูเม่, แนวทางในการปฏิบัติตัวในสถานประกอบการ, การระบุปัญหาค้นหาหัวข้อโครงงาน...

วันที่ 11 มีนาคม 2568 ณ โรงแรมเฮอริเทจบางแสน นำโดย คณบดีคณะโลจิสติกส์ ผศ.ดร.ไพโรจน์ เร้าธนชลกุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาอาจารย์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ สหกิจศึกษาและโครงงาน และประธานสาขาวิทยาการเดินเรือ เข้าร่วมประชุมกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ครั้งที่ 2/2568 โดยได้รับการต้อนรับจากคุณกิตติวุฒิ ศศิวิมลพันธุ์ ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี และคณะ ทั้งนี้ในงานได้มีการแนะนำคณะโลจิสติกส์ และผู้บริหารคณะฯ ให้กับคณะกรรมการสภาฯ และสมาชิกของสภาฯ รวมถึงยังได้มีการทำโครงการความร่วมมือระหว่างคณะโลจิสติกส์ และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี เพื่อจัดโครงการบูรณาการงานวิจัยสู่ภาคปฏิบัติต่อไป

จบกันไปแล้วกับการจัดอบรม “การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเภสัชภัณฑ์ สำหรับผู้ปฏิบัติงานในคลังยา” ที่จัดขึ้นในวันที่ 17-20 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ณ คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ภายใต้การดำเนินงานของ HEAL Lab: นวัตกรรมโลจิสติกส์สุขภาพเพื่ออนาคตที่ดีกว่า HEAL Lab ได้จัดกิจกรรมอบรมครั้งแรกด้วยบรรยากาศการเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยพลังและความกระตือรือร้นจากผู้เข้าร่วมทุกท่าน! ภายในงานนี้ เราได้ผสมผสานการอบรมที่เข้มข้นและกิจกรรมเสริมที่ทำให้ทุกท่านได้มีส่วนร่วมและเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอน บรรยากาศภายในงาน: ตั้งแต่การเริ่มต้นกิจกรรม ผู้เข้าร่วมทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม Beer Game ที่จำลองสถานการณ์โลจิสติกส์จริง ๆ และเรียนรู้การตัดสินใจในการบริหารสินค้าผ่านสถานการณ์เสมือนจริง พร้อมทั้งสร้างการเชื่อมโยงกับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายวงการสุขภาพและโลจิสติกส์ อบรมเชิงปฏิบัติการ ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมสุขภาพ...
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564 ประกอบด้วย 4 แขนงวิชา ได้แก่ แขนงวิชาการจัดการอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี การจัดการโลจิสติกส์ การค้าและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ และวิศวกรรมโซ่อุปทาน ซึ่งการปรับปรุงหลักสูตรในรอบ 5 ปี ได้มีการสำรวจรวบรวมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อพัฒนาหลักสูตรให้ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ที่ปัจจุบันเน้นเรื่องของการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่จะต้องใช้เครื่องการวิเคราะห์เชิงปริมาณเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้นิสิตชั้นปีที่ 4 มีความพร้อมในการออกฝึกสหกิจศึกษาในภาคการศึกษาถัดไป หลักสูตรจึงได้จัดให้มีโครงการอบรมเตรียมความพร้อมก่อนออกสหกิจศึกษา ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 โดยแบ่งการอบรมออกเป็น 4...

วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2568 คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้จัดกิจกรรมปฐมนิเทศให้กับนิสิตที่ได้รับทุนสหกิจศึกษา ณ Lean Smart Manufacturing Laboratory, National Formosa University ประเทศไต้หวัน จำนวน 2 คน คือ นางสาวอาทิตตรา วิธีเจริญ และนางสาวสุชาวดีย์ บัวสอน นิสิตชั้นปีที่ 3 แขนงวิชาการจัดการโลจิสติกส์ โดยกิจกรรมนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์...