Logistics Management
แขนงวิชาการจัดการโลจิสติกส์
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Logistics and Supply Chain Management)
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย : วท.บ. (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)
ภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Logistics and Supply Chain Management)
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทย์-คณิต หรือ แผนการเรียนภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ (ศิลป์-คำนวณ) มีความประพฤติดี ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งเป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือเป็นโรคที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และตามที่มหาวิทยาลัยจะประกาศเพิ่มเติม
โครงสร้างหลักสูตร
รายละเอียดโครงสร้างหลักสูตร ดาวน์โหลดที่นี่
หลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต
|
* เลือกเรียนจากรายวิชาที่เปิดสอนในคณะโลจิสติกส์ได้อีกไม่เกิน 6 หน่วยกิต ทั้งนี้โดยความเห็นชอบของประธานสาขาวิชา
1. มีความซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ความตระหนักคุณธรรมและจรรยาบรรณของนักโลจิสติกส์
2. รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองและสังคม มีจิตสาธารณะ ทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น ในฐานะผู้นำและสมาชิกในทีม
3. มีความรู้ ความเข้าใจ อธิบายความสำคัญ ลักษณะของการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในภาคการผลิต ภาคบริการและภาคการค้า
4. บ่งชี้ปัญหา และปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า สินค้าคงคลัง การขนส่งและการกระจายสินค้า และกิจกรรมโลจิสติกส์ต่างๆ ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล
5. คิด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ วางแผนในการทำงานและแก้ปัญหาด้านการจัดการโลจิสติกส์อย่างมีลำดับขั้นตอนที่เหมาะสมกับสถานการณ์
6. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญในการวิเคราะห์ตัดสินใจการจัดการคลังสินค้า สินค้าคงคลัง การขนส่งและกระจายสินค้า และกิจกรรมโลจิสติกส์ต่างๆ ได้
7. มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สืบค้นข้อมูล ค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งรวบรวมฐานข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่างๆ เพื่อต่อยอดในการศึกษาในระดับสูงขึ้นและรวมทั้งการเป็นผู้ประกอบการในอนาคต
8. สื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ในงานด้านโลจิสติกส์ให้กับเพื่อนร่วมงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องได้
การรับสมัคร
มหาวิทยาลัยบูรพามีนโยบายสำคัญในการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาคือ มุ่งคัดเลือกคนเก่ง คนดี มีความสามารถสูง มุ่งกระจายโอกาสสู่ภาคตะวันออก และมุ่งความเสมอภาคเท่าเทียมกันในโอกาศเข้าการศึกษาด้วยนโยบายสำคัญดังกล่าวข้างต้นทำให้มีวิธีการ
คัดเลือกเข้าศึกษา ในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ในรูปแบบที่หลากหลาย และ มีสาระสำคัญในแต่ละวิธีสรุปดังนี้
– โครงการรับตรงในภาคตะวันออก จำนวนที่รับประมาณ ร้อยละ 50 ของจำนวนที่รับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการรับตรงทั่วประเทศ จำนวนรับประมาณร้อยละ 15 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการ Admissions จำนวนรับประมาณร้อยละ 30 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการพิเศษ จำนวนรับประมาณร้อยละ 5 ของจำนวนที่จะรับทั้งหมด
สมัครเข้าศึกษา >> http://regservice.buu.ac.th/index.html