RVC Rotorcraft <25KG

หลักสูตรนักบินโดรน ประเภทปีกหมุน น้ำหนักไม่เกิน 25 KG

ด้วยคณะโลจิสติกส์ร่วมกับคณะเทคโนโลยีการเกตร ได้เปิดหลักสูตรสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2567 เป็นต้นมา เป็นหลักสูตรที่บูรณาการความรู้ในศาสตร์ด้านโลจิสติกส์ ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการฟาร์มซึ่งเป็นพื้นที่สร้างผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกจนถึงการจัดเก็บผลผลิตและส่งถึงมือผู้บริโภคด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการพัฒนาระบบโซ่อุปทานของกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรไปจนถึงผู้บริโภค เพื่อยกระดับคุณภาพการผลิต ลดต้นทุน รวมทั้งพัฒนามาตรฐานสินค้า ในปัจจุบัน โดรนเพื่อการเกษตร เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อการทำเกษตรแบบ 4.0 และส่งผลดีต่อเกษตรกรในหลายด้าน เช่น ทำงานได้อย่างรวดเร็ว การควบคุมคุณภาพในการฉีดพ่นและทั่วถึงทุกพื้นที่ ไม่ทำลายพืชที่เพาะปลูกเนื่องจากบินอยู่ด้านบน การดูแลรักษาความปลอดภัยในฟาร์ม เป็นต้น เป็นการใช้ระบบอัตโนมัติสร้างความสามรถในการแข่งขันและประมวลผลเพื่อประยุกต์ใช้เป็นระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติผ่านโดรนเพื่อการเกษตรซึ่งเป็นยานพานหะไร้คนขับ ลดต้นทุนแรงงาน สร้างระบบเกษตรแม่นยำ ต่อยอดอุตสาหกรรมการเกษตรให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้

เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตแขนงวิชาสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะให้มีความรอบรู้ในเทคโนโลยีด้วยการใช้อย่างถูกต้องและถูกวิธี

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้สนใจทั่วไป หรือผู้ที่เตรียมตัวสอบเพื่อขึ้นทะเบียนใบรับรองนักบินพื้นฐานจากสำนักงานการบินพลเรือน (CAAT)

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณกร อินทร์พยุง และคณาจารย์สาขาวิชาการบิน
หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

หมายเหตุ :
– หลักสูตรภาคบังคับ – นิสิตคณะโลจิสติกส์ หลักสูตร ป.ตรี สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน(แขนงสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ และแขนงการจัดการการบิน)
– เรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

หลักสูตรระยะสั้นแบบบูรณาการ

  • คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
    รายวิชา 92522267 ถอดบทเรียนสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Lesson Learned from Smart Farmers) และรายวิชา 92532367 โซ่อุปทานอัตโนมัติ (Autonomous Supply Chain)

ระยะเวลาเรียน

  • ระหว่างวันที่ 21 – 25 ธันวาคม พ.ศ. 2567
    ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

จำนวนผู้เรียน

  • 50 คน

วิธีการสมัคร

  • สมัครออนไลน์ผ่าน Google form

ระยะเวลาในการดำเนินการ

  • 30 ชั่วโมง

ตารางเรียน

ครั้งที่ วันที่ หัวข้อ/รายละเอียด ผู้สอน
1 ส. 21 ธ.ค. 67 09:00 – 16:00 – หลักพื้นฐานการบิน

– ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอากาศยานไม่มีนักบิน

– ห้วงอากาศ และการสื่อสารการเดินอากาศ

– แผนที่และการเดินอากาศ

นาวาอากาศเอก ชัชนันท์ กันภัย
2 อ. 22 ธ.ค. 67 09:00 – 16:00 – อุตนิยมวิทยา

– สมรรถนะและข้อจำกัดของมนุษย์

– การปฎิบัติการบินตามคู่มือปฏิบัติงาน

– การวางแผนการบิน

นาวาอากาศเอก ชัชนันท์ กันภัย
3 จ. 23 ธ.ค. 67 15:00 – 18:00 – กฎหมายการเดินอากาศ

– กฎหมายอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน

รศ.ดร. ณกร อินทร์พยุง
4 อ. 24 ธ.ค. 67 15:00 – 18:00 – ความปลอดภัยการบิน

– การตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉิน

รศ.ดร. ณกร อินทร์พยุง
5 พ. 25 ธ.ค.  10:00 – 17:00

10:00 – 11:00

11:00 – 12:00

13:00 – 14:00

14:00 – 14:30

14:30 – 15:30

15:30 – 17:00

– การซ่อมบำรุงและการตรวจสอบโดรน

– การบินโดรนด้วย Drone Flight Simulator

– บทเรียนทดสอบ Simulator (ผ่าน/ไม่ผ่าน)

– สอนการใช้ CoDroneEDU

– บทเรียนทดสอบ การบังคับ CoDroneEDU (ผ่าน/ไม่ผ่าน)

– สาธิตและทดสอบใช้งานโดรนเกษตร

รศ.ดร. ณกร อินทร์พยุง และทีม

หมายเหตุ : กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตวามความเหมาะสม

ผลลัพธ์ของการเรียนรู้

  1. นิสิตได้รู้จัก เข้าใจ และใช้โดรนเพื่อการเกษตรได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ ลักษณะพื้นที่ และคุณสมบัติของโดรนแต่ละแบบ
  2. นิสิตได้ตั้งคำถามและศึกษาความรู้เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับโดรนเพื่อการเกษตร โดรนเพื่อการเกษตร และได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านอากาศยานไร้คนขับโดยตรง
  3. นิสิตสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมพัฒนาต่อยอดเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (Drone) จากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT)

ค่าธรรมเนียมในการอบรม

  • นิสิตคณะโลจิสติกส์ หลักสูตร ป.ตรี สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน(แขนงสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ และแขนงการจัดการการบิน) เรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม

  1. นิสิตหลักสูตร ป.ตรี สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน(แขนงสมาร์ทฟาร์มมิ่งและโซ่อุปทานอัจฉริยะ และแขนงการจัดการการบิน)
  2. ผู้สนใจทั่วไป หรือผู้ที่เตรียมตัวสอบเพื่อขึ้นทะเบียนใบรับรองนักบินพื้นฐานจากสำนักงานการบินพลเรือน (CAAT)

เอกสารประกอบการสมัคร

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • ประวัติส่วนตัว (Portfolio) (ถ้ามี)
  • ถ้าเป็นนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพาต้องแนบสำเนาบัตรนิสิต

มีข้อสงสัย/พบปัญหา ติดต่อสอบถามได้ที่

  • ชื่อ-สกุล: นางสาวนภัสวรรณ ศรีสาคร
  • เบอร์โทรศัพท์: 038-103-222 ต่อ 3102
  • อีเมล์: napatsawan.sr@buu.ac.th

Faculty

Sorry no post found.