Aviation Management

แขนงวิชาการจัดการการบิน

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย     : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Logistics and Supply Chain Management

ชื่อปริญญา
ภาษาไทย     : วท.บ. (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)
ภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Logistics and Supply Chain Management)

คณะโลจิสติกส์ ม.บูรพา (วิทยาเขตบางแสน) ร่วมกับ วิทยาลัยนานาชาติ ม.บูรพา จัดทำหลักสูตรการจัดการการบิน โดยมีเรียนการเรียนการสอน 2 สถานที่ คือ
• ชั้นปีที่ 1 จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (เรียนที่วิทยาลัยนานาชาติ ม.บูรพา)
• ชั้นปีที่ 2-4 จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (เรียนที่คณะโลจิสติกส์ ม.บูรพา)

เปิดรับ ปีการศึกษา 2568

ค่าธรรมเนียม 36,000 บาท ต่อภาคการเรียน

คุณสมบัติทั่วไป :

1. ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ไม่รับวุฒิเทียบเท่า)
2. ผู้สมัครจะต้องมีผลคะแนน GPAX, TGAT, TPAT และ A-Level
3. มีความประพฤติเรียบร้อย
4. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจหรือโรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
5. มีคุณสมบัติเฉพาะตามที่คณะและสาขาวิชากำหนด
6. ผู้สมัครจะต้องไม่เป็นนิสิตหรือนักศึกษา รหัสนิสิต 67 หรือได้ทำการยืนยันสิทธิ์เคลียริ่งเฮาส์ไปแล้วในรอบที่ผ่านมา หากประสงค์จะสมัครต้องสละสิทธิ์ที่มีอยู่ก่อน ซึ่งการสละสิทธิ์จะต้องทำในระยะเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าการสมัครครั้งนี้เป็นโมฆะ

คุณสมบัติเฉพาะ :

1. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX 6 ภาคเรียน) ไม่ต่ำกว่า 2.75
2. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 22 หน่วยกิต
3. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 123 หน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาทักษะการใช้ชีวิตคุณภาพ 7 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพลเมืองไทยและพลเมืองโลก 10 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่เสริมสมรรถนะการทางานในโลกอนาคต 7 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 93 หน่วยกิต
วิชาแกน 18 หน่วยกิต
แคลคูลัส 3(3-0-6)
กฎหมายธุรกิจ 3(3-0-6)
สถิติเบื้องต้นสำหรับวิทยาศาสตร์ 3(3-0-6)
การบัญชีเพื่อการจัดการในธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์ 3(3-0-6)
หลักเศรษฐศาสตร์ 3(3-0-6)
หลักการตลาด 3(3-0-6)
วิชาบังคับสาขา 36 หน่วยกิต
แรงบันดาลใจในสายงานโลจิสติกส์ 1(0-2-1)
การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 3(3-0-6)
การขนส่งและการกระจายสินค้า 3(3-0-6)
การจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง 3(3-0-6)
การจัดการด้านการปฏิบัติการ 3(3-0-6)
ภาษาอังกฤษโลจิสติกส์ 3(3-0-6)
เทคนิคการนำเสนองาน 2(1-2-3)
การใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองสถานการณ์ 3(2-2-5)
การสังเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ 3(2-2-5)
การจัดการคุณภาพ 3(3-0-6)
จริยธรรมทางธุรกิจ 1(0-2-4)
สัมมนาและการวิจัยด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 2(1-2-3)
วิชาโครงการ 1 3(0-6-3)
วิชาโครงการ 2 3(0-6-3)
วิชาเอกบังคับ
ทฤษฎีอากาศยาน (Theory of Aircraft) 3(3-0-6)
กฎหมายและข้อบังคับการบิน (Air Law and Regulation) 3(3-0-6)
นิรภัยการบิน (Aviation Safety) 3(3-0-6)
การวางแผนโครงข่ายขนส่งทางอากาศและจัดตารางเวลาบิน

(Air Transport Network Planning and Scheduling)

3(3-0-6)
การจัดการขนส่งสินค้าทางอากาศ

(Air Cargo Management)

3(3-0-6)
การบริหารจัดการท่าอากาศยาน

(Airport Operations Management)

3(3-0-6)
วิชาเลือก (ให้เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต)
การควบคุมจราจรทางอากาศเบื้องต้น

(Introduction to Air Traffic Control)

3(3-0-6)
การตลาดการบิน

(Aviation Marketing)

3(3-0-6)
การปฏิบัติการภาคพื้น

(Ground Operations)

3(3-0-6)
อากาศยานไร้คนขับ

(Drone)

3(3-0-6)
การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน 9 หน่วยกิต
การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานทางโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 9(0-27-13)
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

*ให้เลือกเรียนรายวิชาใดๆ จากรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยบูรพา หรือ เลือกเรียนจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นทั้งภายในและภายนอก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

6 หน่วยกิต

 

PLO1 – อธิบายทฤษฎี และวิธีการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
PLO2 – ปรับใช้ทฤษฎีและวิธีการกับกรณีศึกษาด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอย่างเหมาะสม
PLO3 – วิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบทางเลือกในการแก้ปัญหางานด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานโดยใช้เทคโนโลยี
PLO4 – แสดงออกถึงพฤติกรรมที่สะท้อนภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม ความซื่อสัตย์สุจริต
ความรับผิดชอบ และมีจริยธรรมในการเป็นนักโลจิสติกส์ที่ดีอย่างสม่ำเสมอ
PLO15 – เสนอแนวทางในการแก้ปัญหากรณีศึกษาในอุตสาหกรรมการบิน ภายใต้กฎระเบียบและความปลอดภัย
PLO16 – ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในการพัฒนางานด้านอุตสาหกรรมการบินในระดับสากล

มหาวิทยาลัยบูรพามีนโยบายสำคัญในการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาคือ มุ่งคัดเลือกคนเก่ง คนดี มีความสามารถสูง มุ่งกระจายโอกาสสู่ภาคตะวันออก และมุ่งความเสมอภาคเท่าเทียมกันในโอกาศเข้าการศึกษาด้วยนโยบายสำคัญดังกล่าวข้างต้นทำให้มีวิธีการ

คัดเลือกเข้าศึกษา ในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ในรูปแบบที่หลากหลาย และ มีสาระสำคัญในแต่ละวิธีสรุปดังนี้
– โครงการรับตรงในภาคตะวันออก จำนวนที่รับประมาณ ร้อยละ 50 ของจำนวนที่รับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการรับตรงทั่วประเทศ จำนวนรับประมาณร้อยละ 15 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการ Admissions จำนวนรับประมาณร้อยละ 30 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการพิเศษ จำนวนรับประมาณร้อยละ 5 ของจำนวนที่จะรับทั้งหมด

สมัครเข้าศึกษา >> http://regservice.buu.ac.th/index.html

Faculty

Sorry no post found.