Supply Chain Engineering

แขนงวิชาวิศวกรรมโซ่อุปทาน

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย     : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Logistics and Supply Chain Management

ชื่อปริญญา
ภาษาไทย     : วท.บ. (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)
ภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Logistics and Supply Chain Management)

การประกอบอาชีพ : เมื่อจบการศึกษาแล้วสามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิเคราะห์โซ่อุปทาน (Supply chain analyst) วิศวกรจัดซื้อ ผู้จัดการจัดหา วิศวกรโซ่อุปทาน ผู้จัดการด้านชัพพลายเชน ภายในโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม เริ่มตั้งแต่ผู้ผลิต จนถึงผู้บริโภคลำดับสุดท้าย รวมทั้ง การต่อยอดธุรกิจเดิม เป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่

คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัคร :
1. ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ไม่รับวุฒิเทียบเท่า)
2. ผู้สมัครจะต้องมีผลคะแนน GPAX, TGAT, TPAT และ A-Level
3. มีความประพฤติเรียบร้อย
4. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจหรือโรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
5. มีคุณสมบัติเฉพาะตามที่คณะและสาขาวิชากำหนด
6. ผู้สมัครจะต้องไม่เป็นนิสิตหรือนักศึกษา รหัสนิสิต 67 หรือได้ทำการยืนยันสิทธิ์เคลียริ่งเฮาส์ไปแล้วในรอบที่ผ่านมา หากประสงค์จะสมัครต้องสละสิทธิ์ที่มีอยู่ก่อน ซึ่งการสละสิทธิ์จะต้องทำในระยะเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าการสมัครครั้งนี้เป็นโมฆะ
คุณสมบัติเฉพาะ :
1. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX 6 ภาคเรียน) ไม่ต่ำกว่า 2.75
2. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 22 หน่วยกิต
3. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต

หลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 123 หน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาทักษะการใช้ชีวิตคุณภาพ 7 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพลเมืองไทยและพลเมืองโลก 10 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่เสริมสมรรถนะการทางานในโลกอนาคต 7 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 93 หน่วยกิต
วิชาแกน 18 หน่วยกิต
แคลคูลัส 3(3-0-6)
กฎหมายธุรกิจ 3(3-0-6)
สถิติเบื้องต้นสำหรับวิทยาศาสตร์ 3(3-0-6)
การบัญชีเพื่อการจัดการในธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์ 3(3-0-6)
หลักเศรษฐศาสตร์ 3(3-0-6)
หลักการตลาด 3(3-0-6)
วิชาบังคับสาขา 36 หน่วยกิต
แรงบันดาลใจในสายงานโลจิสติกส์ 1(0-2-1)
การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 3(3-0-6)
การขนส่งและการกระจายสินค้า 3(3-0-6)
การจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง 3(3-0-6)
การจัดการด้านการปฏิบัติการ 3(3-0-6)
ภาษาอังกฤษโลจิสติกส์ 3(3-0-6)
เทคนิคการนำเสนองาน 2(1-2-3)
การใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองสถานการณ์ 3(2-2-5)
การสังเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ 3(2-2-5)
การจัดการคุณภาพ 3(3-0-6)
จริยธรรมทางธุรกิจ 1(0-2-4)
สัมมนาและการวิจัยด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 2(1-2-3)
วิชาโครงการ 1 3(0-6-3)
วิชาโครงการ 2 3(0-6-3)
วิชาเอกบังคับ
การเขียนแบบบวิศวกรรม
     เทคนิคการเขียนตัวอักษรและตัวเลข การเขียนรูปทรงเรขาคณิตประยุกต์เทคนิคการเขียนภาพร่าง การเขียนภาพออร์โธกราฟฟิก การเขียนภาพสามมิติ การให้ขนาด การเขียนภาพตัดวิวช่วย หลักการเรขาบรรยายเบื้องต้น การหาแผ่นคลี่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบ
3(2-3-4)
โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม
     หลักการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธีเบื้องต้น ความซับซ้อนของขั้นตอนวิธีแบบต่างๆ การประยุกต์ขั้นตอนวิธีสำหรับการคำนวณ ขั้นตอนวิธีการในการค้นข้อมูลและความซับซ้อน เรียงลำดับ และทวิภาค ขั้นตอนวิธีในการเรียงข้อมูลอย่างง่าย (อัตราเวลาการประมวลผลต่อจำนวนข้อมูลในระดับกำลังสอง) และขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพ (อัตราเวลาการประมวลผลต่อจำนวนข้อมูลในระดับลอการิทึม) ตารางแฮชและวิธีการป้องกันการชนกันของข้อมูล ต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาค การประยุกต์โครงสร้างข้อมูล แบบกราฟ การแทนข้อมูล การแวะผ่าน การหาระยะทางที่สั้นที่สุด การหาต้นไม้ทอดข้าม และการเรียงตำแหน่งข้อมูลในกราฟ
3(2-3-4)
การวิจัยดำเนินงาน 1
     แนะนำการวิจัยดำเนินงาน การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา ด้วยวิธีกราฟและวิธีซิมเพล็กส์ การใช้การวิจัยดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน รวมถึงการจัดการสินค้าคงคลัง การพยากรณ์ การวางแผนการขนส่งสินค้า การจัดสรรงานและทรัพยากร การเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่าย
3(3-0-6)
การโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาศาสตร์ข้อมูล
     อุตสาหกรรม 4.0 และแนวโน้มของวิทยาศาสตร์ข้อมูล การเขียนโปรแกรมด้วภาษาคอมพิวเตอร์ การทำงานเกี่ยวกับข้อมูลและการนำเข้าไลบรารี่ การจัดการอาเรย์ ดิกชันนารี่ข้อมูล ไฟล์ ค่าของฟังก์ชัน การจัดเรียงลำดับ การจัดรูปแบบข้อมูล ฟังก์ชันพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติ การโปรแกรมเพื่อประยุกต์กับปัญหาในอุตสาหกรรม
3(2-2-5)
การออกแบบโครงข่ายโซ่อุปทาน
     องค์ประกอบพื้นฐานและความสัมพันธ์ของโซ่อุปทาน ต้นทุนการผลิต ต้นทุน การกระจายสินค้า ตำแหน่งที่ตั้งของโรงงานผลิต คลังสินค้า และลูกค้า การสร้างแบบจำลอง ทางคณิตศาสตร์เพื่อช่วยในการออกแบบโครงข่ายโซ่อุปทาน การเลือกตำแหน่งที่ตั้งโรงงานผลิตสินค้าและคลังสินค้าที่เหมาะสม
3(3-0-6)
ระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม
     ระบบอัตโนมัติในงานอุตสาหกรรม แนวคิดพื้นฐานและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 4.0 ศึกษาแขนกลหุ่นยนต์ในการผลิตและประกอบชิ้นส่วนอัตโนมัติ การประยุกต์ใช้เซ็นเซอร์และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ระบบจัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้าอัตโนมัติ (AS/RS) ในการจัดการสินค้าคงคลังและคลังสินค้า การใช้กระบวนการอัตโนมัติ (Process Automation) ในการควบคุม ตรวจสอบ และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม การอภิปรายเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม
3(2-2-5)
วิชาเลือก (ให้เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต)
หัวข้อเลือกสรร
     การนำเสนอและอภิปรายหัวข้อที่น่าสนใจ โดยเน้นเรื่องที่เป็นความรู้ใหม่ทางด้านโลจิสติกส์
2(2-0-4)
นวัตกรรมและสมาร์ทเทคโนโลยีในงานโลจิสติกส์
     นวัตกรรมและเทคโนโลยีอุบัติใหม่ โลจิสติกส์และโซ่อุปทานดิจิทัล ระบบสารสนเทศการจัดการสินค้าคงคลัง ระบบลานและคลังสินค้า ระบบการจัดเก็บข้อมูล ระบบการจัดการยานพาหนะ ระบบอัจฉริยะ การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ อนาคตของเทคโนโลยีโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จริยธรรมในนวัตกรรมเทคโนโลยี พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
3(3-0-6)
การเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจโลจิสติกส์
     ความหมาย ความสำคัญ และคุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ การวิเคราะห์ปัญหาและโอกาสของผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ การศึกษาความเป็นไปได้ การแสวงหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ การจัดตั้งธุรกิจใหม่ หลักการเขียนแผนธุรกิจ การวิเคราะห์สถานการณ์ธุรกิจและการแข่งขัน การทำการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์
3(3-0-6)
เทคนิคเอ็กเซลขั้นสูงและสเปรดชีท
     การเรียกดูข้อมูลและจัดการสมุดงาน การเรียกใช้ฟังก์ชันขั้นสูง การสร้างสมการที่ซับซ้อน การส่งออกและนำเข้าข้อมูลจากโปรแกรมต่างๆ การออกแบบสเปรดชีทเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาทางโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การสร้าง วิเคราะห์ และปรับเปลี่ยนข้อมูลจากหลายแหล่งด้วยตารางไพวอต การเขียนโปรแกรมชุดคำสั่ง VBA
3(2-2-5)
การจัดการโซ่อุปทานระดับโลก
     ความสำคัญของโซ่อุปทานที่มีต่อธุรกิจระหว่างประเทศและฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกลยุทธ์ในการจัดการและการบริหารระบบโซ่อุปทานระหว่างประเทศเบื้องต้น เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดการระบบโซ่อุปทานระหว่างประเทศ ตลอดจนบทบาทของกลยุทธ์ด้านการจัดการโซ่อุปทาน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนขององค์กร โดยการประเมินกิจกรรมทางด้านการจัดการ
โลจิสติกส์และโซ่อุปทานผ่านทางการประเมิน 3 มิติ คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ และด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
3(3-0-6)
การลงทุนและการบริหารหลักทรัพย์
     การจัดการการเงินส่วนบุคคลและการออม ความรู้เบื้องต้นของการวางแผนการลงทุน สภาพแวดล้อมในการลงทุน ประเภทของสินทรัพย์ทางการเงิน กลไกการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ การลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุน การวิเคราะห์ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ การวิเคราะห์หลักทรัพย์ด้วยข้อมูลในงบการเงิน การจัดกลุ่มหลักทรัพย์เพื่อการลงทุน
3(3-0-6)
ระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์
     การสร้างระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อใช้ในการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ การจัดการฐานข้อมูลโดยใช้ SQL เพื่อการสกัดและจัดการข้อมูล เทคนิคการรวบรวมข้อมูล ศึกษาเครื่องมือสร้างภาพข้อมูลรวมถึง MS Excel, Power BI, Tableau และ Python เพื่อการแปลงข้อมูลดิบเป็นการวิเคราะห์เชิงลึก การสร้างแดชบอร์ดแบบโต้ตอบได้ การสร้างแผนภูมิและกราฟประเภทต่างๆ และการตีความข้อมูลในบริบทของโลจิสติกส์และซัพพลายเชน การตรวจสอบบทบาทของระบบธุรกิจอัจฉริยะในการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ โดยเฉพาะการสนับสนุนประสิทธิภาพการดำเนินงาน
3(2-2-5)
การวิจัยดำเนินงาน 2
     พื้นฐานแบบจำลองปัวซองส์เอกซ์โพเนนเชียล ตัวแบบจำลองมาร์คอฟเช่น การวิเคราะห์และการจัดการระบบคิวแบบต่าง ๆ ตัวแบบแถวคอยที่มีผู้ให้บริการหลายคน ตัวแบบแถวคอยที่มีผู้ให้บริการจำกัด ตัวแบบแถวคอยที่มีระบบคิวจำกัด
3(3-0-6)
ปัญญาประดิษฐ์เบื้องต้น
     กระบวนการการคิด การนำไปใช้ การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการจัดการโลจิสติกส์ การศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการหาค่าเหมาะสมที่สุดในทุกชนิดของปัญหาในแมชชีนเลิร์นนิ่ง
3(3-0-6)
เทคโนโลยีบล็อกเชนและสัญญาอัจฉริยะ
     แนวคิดและความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิธีการของบล็อคเชน การประยุกต์ใช้บล็อคเชนในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของธุรกรรม การศึกษาเรื่องความปลอดภัยและโปร่งใสของการจัดการข้อมูลโดยปราศจากคนกลาง การออกแบบและประยุกต์ใช้สัญญาอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีบล็อคเชนในการบริหารจัดการโซ่อุปทาน
3(3-0-6)
การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน 9 หน่วยกิต
การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานทางโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 9(0-27-13)
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

*ให้เลือกเรียนรายวิชาใดๆ จากรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยบูรพา หรือ เลือกเรียนจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นทั้งภายในและภายนอก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

6 หน่วยกิต

 

ผลการเรียนคาดหวัง

1. อธิบายทฤษฎี และวิธีการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
2. เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
3. เลือกใช้ภาษาเพื่อสื่อสารในงานด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานอย่างเหมาะสม
4. ปฏิบัติตามระเบียบวินัยของนักโลจิสติกส์ได้อย่างถูกต้อง
5. แสดงออกซึ่งความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองและส่วนรวมในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับมอบหมาย
6. สามารถทำงานเป็นทีม มีภาวะความเป็นผู้นำและเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
7. เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานโดยใช้เทคโนโลยีด้านวิศวกรรมโซ่อุปทาน
8. เลือกวิธีการเพื่อประมวลผลข้อมูลด้านโลจิสิตกส์และโซ่อุปทานอย่างเหมาะสม

การรับสมัคร

มหาวิทยาลัยบูรพามีนโยบายสำคัญในการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาคือ มุ่งคัดเลือกคนเก่ง คนดี มีความสามารถสูง มุ่งกระจายโอกาสสู่ภาคตะวันออก และมุ่งความเสมอภาคเท่าเทียมกันในโอกาศเข้าการศึกษาด้วยนโยบายสำคัญดังกล่าวข้างต้นทำให้มีวิธีการ

คัดเลือกเข้าศึกษา ในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ในรูปแบบที่หลากหลาย และ มีสาระสำคัญในแต่ละวิธีสรุปดังนี้
– โครงการรับตรงในภาคตะวันออก จำนวนที่รับประมาณ ร้อยละ 50 ของจำนวนที่รับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการรับตรงทั่วประเทศ จำนวนรับประมาณร้อยละ 15 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการ Admissions จำนวนรับประมาณร้อยละ 30 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการพิเศษ จำนวนรับประมาณร้อยละ 5 ของจำนวนที่จะรับทั้งหมด

สมัครเข้าศึกษา >> http://regservice.buu.ac.th/index.html

Faculty

Sorry no post found.