Inter Trade Logistics Management

แขนงวิชาการค้าและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย     : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Logistics and Supply Chain Management

ชื่อปริญญา
ภาษาไทย     : วท.บ. (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)
ภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Logistics and Supply Chain Management)

การประกอบอาชีพ : ทำงานในสายงานที่เกี่ยวกับ Import & Export sales, Customs clearance, Customer service (Import/Export), Shipping and trucking, Oversea purchasing, Business development เป็นต้น

คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัคร :
1. ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ไม่รับวุฒิเทียบเท่า)
2. ผู้สมัครจะต้องมีผลคะแนน GPAX, TGAT, TPAT และ A-Level
3. มีความประพฤติเรียบร้อย
4. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจหรือโรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
5. มีคุณสมบัติเฉพาะตามที่คณะและสาขาวิชากำหนด
6. ผู้สมัครจะต้องไม่เป็นนิสิตหรือนักศึกษา รหัสนิสิต 67 หรือได้ทำการยืนยันสิทธิ์เคลียริ่งเฮาส์ไปแล้วในรอบที่ผ่านมา หากประสงค์จะสมัครต้องสละสิทธิ์ที่มีอยู่ก่อน ซึ่งการสละสิทธิ์จะต้องทำในระยะเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าการสมัครครั้งนี้เป็นโมฆะ
คุณสมบัติเฉพาะ :
1. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX 6 ภาคเรียน) ไม่ต่ำกว่า 2.75
2. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต และมีผลการเรียนคณิตศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ดี

หลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 123 หน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาทักษะการใช้ชีวิตคุณภาพ 7 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพลเมืองไทยและพลเมืองโลก 10 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่เสริมสมรรถนะการทางานในโลกอนาคต 7 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 93 หน่วยกิต
วิชาแกน 18 หน่วยกิต
แคลคูลัส 3(3-0-6)
กฎหมายธุรกิจ 3(3-0-6)
สถิติเบื้องต้นสำหรับวิทยาศาสตร์ 3(3-0-6)
การบัญชีเพื่อการจัดการในธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์ 3(3-0-6)
หลักเศรษฐศาสตร์ 3(3-0-6)
หลักการตลาด 3(3-0-6)
วิชาบังคับสาขา 36 หน่วยกิต
แรงบันดาลใจในสายงานโลจิสติกส์ 1(0-2-1)
การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 3(3-0-6)
การขนส่งและการกระจายสินค้า 3(3-0-6)
การจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง 3(3-0-6)
การจัดการด้านการปฏิบัติการ 3(3-0-6)
ภาษาอังกฤษโลจิสติกส์ 3(3-0-6)
เทคนิคการนำเสนองาน 2(1-2-3)
การใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองสถานการณ์ 3(2-2-5)
การสังเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ 3(2-2-5)
การจัดการคุณภาพ 3(3-0-6)
จริยธรรมทางธุรกิจ 1(0-2-4)
สัมมนาและการวิจัยด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 2(1-2-3)
วิชาโครงการ 1 3(0-6-3)
วิชาโครงการ 2 3(0-6-3)
วิชาเอกบังคับ
ธุรกิจระหว่างประเทศ
     การเข้าใจทฤษฎี แนวคิด กรอบการทำงานพื้นฐาน และการพัฒนาที่ล้ำสมัยเพื่อประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและการตัดสินใจของผู้บริหารธุรกิจระหว่างประเทศด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจและการออกแบบกลยุทธ์การแข่งขันทางธุรกิจระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจระหว่างประเทศในยุคปัจจุบัน
3(3-0-6)
สิทธิประโยชน์ทางการค้า
     แนวคิด การจัดการ และการประยุกต์ใช้เอกสิทธิทางภาษีและสิทธิประโยชน์ทางการค้า ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค เขตการค้าเสรีและความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตัวเอง ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ระบบสิทธิประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (GSTP) การส่งเสริมการลงทุน (BOI) เขตปลอดอากร และคลังสินค้าทัณฑ์บน
3(3-0-6)
กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
     ข้อสัญญามาตรฐานในการซื้อขายระหว่างประเทศ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการชำระราคาด้วยเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับการชำระราคา การระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการ กฎหมายการรับขนของทางทะเล การประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางทะเล
3(3-0-6)
การจัดการนำเข้าส่งออก
     หลักเกณฑ์ในการส่งออกและนำเข้า การจัดองค์การของธุรกิจส่งออกและนำเข้า สินค้าที่มาตรการควบคุมการส่งออกและนำเข้า การเจรจาต่อรองที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนด
การค้าสากล เงื่อนไขในการชำระเงินระหว่างประเทศ การคิดค่าระวาง การคิดค่าระวางในการขนส่งระหว่างประเทศ การจัดเตรียมเอกสารเพื่อการส่งออกและนำเข้า
3(3-0-6)
นโยบายและการค้าระหว่างประเทศ
     ความรู้เบื้องต้นทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ทฤษฎีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของเดวิธ ริคาร์โด รูปแบบการแลกเปลี่ยนอย่างสมบูรณ์ของการค้า การเคลื่อนย้ายปัจจัยและการกระจายรายได้ แบบจำลองของแฮกเชอร์และโอแลง การประหยัดจากขนาดและการค้าระหว่างประเทศ ผลกระทบของนโยบายการค้ากับการตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ นโยบายการค้าภายในและระหว่างประเทศ นโยบายการค้าของตลาดที่มีการแข่งขันไม่สมบูรณ์ นโยบายทางเศรษฐศาสตร์และการค้าระหว่างประเทศ และการประเมินความขัดแย้งระหว่างการค้าเสรีและการปกป้อง
3(3-0-6)
หลักการเจรจาต่อรองทางการค้า
     ความสำคัญของการเจรจาต่อรองทางการค้าระหว่างประเทศ ความสมดุลระหว่างอำนาจการต่อรอง ข้อตกลงหรือสัญญาซื้อขายทางการค้าระหว่างประเทศ การคัดเลือกคู่ค้า ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับใช้ในการเจรจาต่อรอง ขั้นตอนการเจรจาต่อรอง เทคนิคการเจรจาต่อรอง เทคนิคการโน้มน้าวคู่เจรจา ด้วยการเรียนรู้ในการเจรจาจากตัวอย่างการเจรจาการค้าระหว่างประเทศตามสถานการณ์
3(3-0-6)
วิชาเลือก (ให้เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต)
หัวข้อเลือกสรร
     การนำเสนอและอภิปรายหัวข้อที่น่าสนใจ โดยเน้นเรื่องที่เป็นความรู้ใหม่ทางด้านโลจิสติกส์
2(2-0-4)
นวัตกรรมและสมาร์ทเทคโนโลยีในงานโลจิสติกส์
     นวัตกรรมและเทคโนโลยีอุบัติใหม่ โลจิสติกส์และโซ่อุปทานดิจิทัล ระบบสารสนเทศการจัดการสินค้าคงคลัง ระบบลานและคลังสินค้า ระบบการจัดเก็บข้อมูล ระบบการจัดการยานพาหนะ ระบบอัจฉริยะ การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ อนาคตของเทคโนโลยีโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จริยธรรมในนวัตกรรมเทคโนโลยี พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
3(3-0-6)
การเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจโลจิสติกส์
     ความหมาย ความสำคัญ และคุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ การวิเคราะห์ปัญหาและโอกาสของผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ การศึกษาความเป็นไปได้ การแสวงหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ การจัดตั้งธุรกิจใหม่ หลักการเขียนแผนธุรกิจ การวิเคราะห์สถานการณ์ธุรกิจและการแข่งขัน การทำการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์
3(3-0-6)
เทคนิคเอ็กเซลขั้นสูงและสเปรดชีท
     การเรียกดูข้อมูลและจัดการสมุดงาน การเรียกใช้ฟังก์ชันขั้นสูง การสร้างสมการที่ซับซ้อน การส่งออกและนำเข้าข้อมูลจากโปรแกรมต่างๆ การออกแบบสเปรดชีทเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาทางโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การสร้าง วิเคราะห์ และปรับเปลี่ยนข้อมูลจากหลายแหล่งด้วยตารางไพวอต การเขียนโปรแกรมชุดคำสั่ง VBA
3(2-2-5)
การจัดการโซ่อุปทานระดับโลก
     ความสำคัญของโซ่อุปทานที่มีต่อธุรกิจระหว่างประเทศและฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกลยุทธ์ในการจัดการและการบริหารระบบโซ่อุปทานระหว่างประเทศเบื้องต้น เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดการระบบโซ่อุปทานระหว่างประเทศ ตลอดจนบทบาทของกลยุทธ์ด้านการจัดการโซ่อุปทาน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนขององค์กร โดยการประเมินกิจกรรมทางด้านการจัดการ
โลจิสติกส์และโซ่อุปทานผ่านทางการประเมิน 3 มิติ คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ และด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
3(3-0-6)
การลงทุนและการบริหารหลักทรัพย์
     การจัดการการเงินส่วนบุคคลและการออม ความรู้เบื้องต้นของการวางแผนการลงทุน สภาพแวดล้อมในการลงทุน ประเภทของสินทรัพย์ทางการเงิน กลไกการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ การลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุน การวิเคราะห์ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ การวิเคราะห์หลักทรัพย์ด้วยข้อมูลในงบการเงิน การจัดกลุ่มหลักทรัพย์เพื่อการลงทุน
3(3-0-6)
สภาวะแวดล้อมทางธุรกิจระหว่างประเทศ
     การทำความเข้าใจหลักการและแนวคิดพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์เพื่อประยุกต์ ใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจระหว่างประเทศในบริบทของอาเซียนและธุรกิจระดับโลก การพัฒนาทักษะการคิดและวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเพื่อตอบสนองต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระหว่างประเทศสมัยใหม่
3(3-0-6)
ธุรกิจระหว่างประเทศในตลาดเกิดใหม่
     การเจริญเติบโต และแนวโน้มในรูปแบบต่างๆ ของประเทศในตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศอาเซียนในเขตภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่มีเส้นทางคมนาคมติดต่อกัน (CLMV) การเคลื่อนย้ายสินค้าและแรงงานผ่านเส้นแบ่งพรมแดนต่าง ๆ ทางทะเลและมหาสมุทร พัฒนาการของเทคโนโลยีและนวัตกรรม รูปแบบธุรกิจและกลยุทธ์การประกอบธุรกิจในตลาดเกิดใหม่ ความรับผิดชอบต่อสังคม แนวโน้มการเติบโตของตลาดเกิดใหม่ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงและการเจริญเติบโตในธุรกิจระดับโลก
3(3-0-6)
การจัดการข้ามวัฒนธรรม
     การเรียนรู้และเข้าใจ วัฒนธรรม ศาสนา ทัศคติ ความเชื่อ และค่านิยมที่มีความแตกต่างกัน มิติทางวัฒนธรรมที่สำคัญ การจัดการความขัดแย้งเนื่องจากความแตกต่างในด้านต่างๆ
และการจัดการวัฒนธรรมที่หลากหลายเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ
3(3-0-6)
ระบบบริหารคุณภาพเพื่อการส่งออก
     หลักการพื้นฐานของข้อกำหนดในระบบ ISO9001: 2015 การเขียนคู่มือคุณภาพ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน คู่มือการทำงาน การติดตามตรวจสอบคุณภาพภายใน การทบทวนคุณภาพโดยฝ่ายบริหาร มาตรฐานสากล และมาตรฐานสินค้าเพื่อการส่งออก อาทิ มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ISO14001: 2015 วิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) มาตรฐานการผลิตที่มีมาตรการป้องกันอันตราย (HACCP) รวมทั้งข้อกำหนดในการจัดเก็บและจัดส่งสินค้าเกษตร สินค้าอันตรายและสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ
3(3-0-6)
การพยากรณ์สำหรับธุรกิจระหว่างประเทศ
     กระบวนการในการพยากรณ์ การพิจารณาข้อมูล การเตรียมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกโมเดล ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ การปรับเรียบแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล วิธีการถดถอย การพยากรณ์อนุกรมเวลา เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องจักรสำหรับงานพยากรณ์ เทคนิคการพยากรณ์แบบโครงข่ายประสาทเทียมระดับพื้นฐาน เครื่องมือสำหรับการพยากรณ์ เครื่องมือสำหรับวัดประสิทธิภาพในการพยากรณ์ การประยุกต์ใช้การพยากรณ์กับกรณีศึกษาทางธุรกิจ
3(3-0-6)
การค้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
     แนวคิด หลักการ วิธีการ และเทคนิคต่างๆ ที่ทำให้กิจกรรมการค้า แบบอิเล็กทรอนิกส์ประสบความสำเร็จ การจัดทำแผนธุรกิจออนไลน์ การบริหารจัดการในภาพรวม ที่ครอบคลุมทั้งการตลาด การเงิน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งของการดำเนินกิจกรรมการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ การปฏิบัติในทางเทคนิค การให้คำแนะนำที่เหมาะสมสำหรับช่องทางการค้าออนไลน์
3(2-2-5)
การจัดการความเสี่ยงในธุรกิจระหว่างประเทศ
     ความหมายและความสำคัญของการจัดการจัดการความเสี่ยง การระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น การประเมินความเสี่ยง การเลือกวิธีการจัดการความเสี่ยง การดำเนินการบริหารความเสี่ยง การติดตามและควบคุมความเสี่ยง การกำหนดมาตรการบรรเทาความเสี่ยงในธุรกิจระหว่างประเทศ
3(3-0-6)
การประกันภัยในอุตสาหกรรมขนส่งและบริการโลจิสติกส์
     ความเสี่ยงและการประกันภัยในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการขนส่ง และการให้บริการโลจิสติกส์ เช่น ผู้ประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ ผู้รับจัดการขนส่งสินค้า ผู้ประกอบการท่าเรือและเทอร์มินัล การเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป หลักการสำคัญของการประกันภัย ขอบเขตและข้อยกเว้นความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยสินค้า การประกันภัยซ้ำซ้อน การประกันภัยต่ำกว่ามูลค่า การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน การประกันภัยแบบสหการ และพีแอนด์ไอคลับ การป้องกันการฉ้อฉลและฉ้อโกง
3(3-0-6)
การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน 9 หน่วยกิต
การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานทางโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 9(0-27-13)
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

*ให้เลือกเรียนรายวิชาใดๆ จากรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยบูรพา หรือ เลือกเรียนจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นทั้งภายในและภายนอก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

6 หน่วยกิต

 

ผลการเรียนคาดหวัง

1. อธิบายทฤษฎี และวิธีการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
2. เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
3. เลือกใช้ภาษาเพื่อสื่อสารในงานด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานอย่างเหมาะสม
4. ปฏิบัติตามระเบียบวินัยของนักโลจิสติกส์ได้อย่างถูกต้อง
5. แสดงออกซึ่งความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองและส่วนรวมในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับมอบหมาย
6. สามารถทำงานเป็นทีม มีภาวะความเป็นผู้นำและเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
7. เลือกใช้ข้อกำหนดและวิธีการทางการค้าที่เหมาะสมเพื่อบริหารจัดการการค้าและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ

การรับสมัคร

มหาวิทยาลัยบูรพามีนโยบายสำคัญในการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาคือ มุ่งคัดเลือกคนเก่ง คนดี มีความสามารถสูง มุ่งกระจายโอกาสสู่ภาคตะวันออก และมุ่งความเสมอภาคเท่าเทียมกันในโอกาศเข้าการศึกษาด้วยนโยบายสำคัญดังกล่าวข้างต้นทำให้มีวิธีการ

คัดเลือกเข้าศึกษา ในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ในรูปแบบที่หลากหลาย และ มีสาระสำคัญในแต่ละวิธีสรุปดังนี้
– โครงการรับตรงในภาคตะวันออก จำนวนที่รับประมาณ ร้อยละ 50 ของจำนวนที่รับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการรับตรงทั่วประเทศ จำนวนรับประมาณร้อยละ 15 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการ Admissions จำนวนรับประมาณร้อยละ 30 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการพิเศษ จำนวนรับประมาณร้อยละ 5 ของจำนวนที่จะรับทั้งหมด

สมัครเข้าศึกษา >> http://regservice.buu.ac.th/index.html

Faculty

Sorry no post found.