Maritime Industrial Management
แขนงวิชาการจัดการอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Logistics and Supply Chain Management
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย : วท.บ. (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)
ภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Logistics and Supply Chain Management)
การประกอบอาชีพ : ทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางทะเลและการปฏิบัติการภายในท่าเรือ งานด้านการนำเข้าส่งออก งานวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ด้านพาณิชยนาวี เป็นต้น
คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัคร :
1. ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ไม่รับวุฒิเทียบเท่า)
2. ผู้สมัครจะต้องมีผลคะแนน GPAX, TGAT, TPAT และ A-Level
3. มีความประพฤติเรียบร้อย
4. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจหรือโรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
5. มีคุณสมบัติเฉพาะตามที่คณะและสาขาวิชากำหนด
6. ผู้สมัครจะต้องไม่เป็นนิสิตหรือนักศึกษา รหัสนิสิต 67 หรือได้ทำการยืนยันสิทธิ์เคลียริ่งเฮาส์ไปแล้วในรอบที่ผ่านมา หากประสงค์จะสมัครต้องสละสิทธิ์ที่มีอยู่ก่อน ซึ่งการสละสิทธิ์จะต้องทำในระยะเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าการสมัครครั้งนี้เป็นโมฆะ
คุณสมบัติเฉพาะ :
1. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX 6 ภาคเรียน) ไม่ต่ำกว่า 2.75
2. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต และมีผลการเรียนคณิตศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ดี
หลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 123 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 24 หน่วยกิต |
---|---|
กลุ่มวิชาทักษะการใช้ชีวิตคุณภาพ | 7 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาพลเมืองไทยและพลเมืองโลก | 10 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาที่เสริมสมรรถนะการทางานในโลกอนาคต | 7 หน่วยกิต |
ข. หมวดวิชาเฉพาะ | 93 หน่วยกิต |
วิชาแกน | 18 หน่วยกิต |
แคลคูลัส | 3(3-0-6) |
กฎหมายธุรกิจ | 3(3-0-6) |
สถิติเบื้องต้นสำหรับวิทยาศาสตร์ | 3(3-0-6) |
การบัญชีเพื่อการจัดการในธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์ | 3(3-0-6) |
หลักเศรษฐศาสตร์ | 3(3-0-6) |
หลักการตลาด | 3(3-0-6) |
วิชาบังคับสาขา | 36 หน่วยกิต |
แรงบันดาลใจในสายงานโลจิสติกส์ | 1(0-2-1) |
การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน | 3(3-0-6) |
การขนส่งและการกระจายสินค้า | 3(3-0-6) |
การจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง | 3(3-0-6) |
การจัดการด้านการปฏิบัติการ | 3(3-0-6) |
ภาษาอังกฤษโลจิสติกส์ | 3(3-0-6) |
เทคนิคการนำเสนองาน | 2(1-2-3) |
การใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองสถานการณ์ | 3(2-2-5) |
การสังเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ | 3(2-2-5) |
การจัดการคุณภาพ | 3(3-0-6) |
จริยธรรมทางธุรกิจ | 1(0-2-4) |
สัมมนาและการวิจัยด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน | 2(1-2-3) |
วิชาโครงการ 1 | 3(0-6-3) |
วิชาโครงการ 2 | 3(0-6-3) |
วิชาเอกบังคับ | |
เศรษฐศาสตร์พาณิชยนาวี องค์กรการผลิตและการบริโภคของตลาดการขนส่งสินค้าทางทะเล วงจรด้านการตลาดของอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางทะเล ประเภทตลาดการค้าของอุตสาหกรรม การขนส่งสินค้าทางทะเลอุปสงค์ อุปทาน และกระบวนการ อัตราค่าระวางการขนส่งสินค้าทางทะเล ต้นทุน รายได้ ผลการดำเนินงาน ด้านการเงิน หลักการพื้นฐานด้านเศรษฐศาสตร์สำหรับการค้าทางทะเล สินค้าเทกองและเศรษฐศาสตร์สำหรับการขนส่งสินค้าเทกอง สินค้าทั่วไป และเศรษฐศาสตร์สำหรับการขนส่งสินค้าทั่วไป การพยากรณ์การค้าทางทะเลและการวิจัยด้านการตลาดสำหรับการขนส่งทางทะเล |
3(3-0-6) |
เรือสินค้าและคุณลักษณะของเรือ ความรู้เกี่ยวกับทะเล คลื่นและลมที่ส่งผลต่อการเดินเรือสินค้า สมุททานุภาพ ลักษณะทางกายภาพและรูปทรงของเรือที่สำคัญ ประเภทเรือและคุณลักษณะสำคัญของเรือแต่ละประเภท พัฒนาการและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของเรือสินค้าในอนาคต |
3(3-0-6) |
ธุรกิจการเช่าเรือ ตลาดการเช่าเรือ ประเภทของการเช่าเรือ แบบสัญญามาตรฐานการเช่าเรือ เงื่อนไขการเช่าเรือแบบต่างๆ ปัจจัยกำหนดค่าเช่าเรือ การประเมินค่าใช้จ่ายในการเดินเรือจร ตลาดซื้อขายค่าระวางล่วงหน้า การคิดค่าระวางในการขนส่งทางเรือ การคิดคำนวณ Laytime เอกสาร และการติดต่อเช่าเรือ การซ่อมบำรุงและสัญญาซ่อมเรือ |
3(3-0-6) |
การปฏิบัติการและการจัดการท่าเรือ การดำเนินงานภายในท่าเรือ โครงสร้างการบริหารท่าเรือ การประสานงาน วางแผน พัฒนา และการวัดประสิทธิภาพ เพื่อให้ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน การบริหารจัดการต้นทุน การบริหารจัดการทรัพยากรภายในท่าเรือ การปฏิบัติการท่าเรือ การกำหนดกลยุทธ์ และนโยบายตามสถานการณ์ปัจจุบันและรองรับอนาคต ความมั่นคงและการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล |
3(3-0-6) |
กฎหมายทะเลและการประกันภัยทางทะเล มาตรการแห่งรัฐเจ้าของธง รัฐเมืองท่า และรัฐชายฝั่งในการควบคุมเรือเดินทะเลตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล เขตอำนาจของรัฐเหนือน่านน้ำ และเขตทางทะเลต่างๆ ความเป็นมาและหลักการสำคัญของการประกันภัยทางทะเล เบี้ยประกันภัย และสิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัย การประกันภัยซ้ำซ้อนและการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ข้อกำหนดความคุ้มครองสินค้าที่ขนส่งทางทะเล การประกันภัยตัวเรือและเครื่องจักร การประกันภัยแบบสหการและความคุ้มครองตามพีแอนด์ไอคลับ |
3(3-0-6) |
พิธีการศุลกากร การดำเนินพิธีการศุลกากรสำหรับการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว การดำเนินการพิธีการศุลกากรและสิทธิประโยชน์ในเขตนิคมอุตสาหกรรม เขตปลอดอากรและพื้นที่ที่รัฐให้สิทธิประโยชน์ โครงสร้างพิกัดและราคาประเมินเพื่อการนำเข้าและส่งออกภายใต้องค์การศุลกากรโลก การลดอัตราอากรและการยกเว้นอากรสำหรับการนำเข้าและส่งออกการเงินที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออก วิธีการขอคืนเงินอากร โทษและความผิดสำหรับการนำเข้าและส่งออก |
3(3-0-6) |
วิชาเลือก (ให้เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต) | |
หัวข้อเลือกสรร การนำเสนอและอภิปรายหัวข้อที่น่าสนใจ โดยเน้นเรื่องที่เป็นความรู้ใหม่ทางด้านโลจิสติกส์ |
2(2-0-4) |
นวัตกรรมและสมาร์ทเทคโนโลยีในงานโลจิสติกส์ นวัตกรรมและเทคโนโลยีอุบัติใหม่ โลจิสติกส์และโซ่อุปทานดิจิทัล ระบบสารสนเทศการจัดการสินค้าคงคลัง ระบบลานและคลังสินค้า ระบบการจัดเก็บข้อมูล ระบบการจัดการยานพาหนะ ระบบอัจฉริยะ การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ อนาคตของเทคโนโลยีโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จริยธรรมในนวัตกรรมเทคโนโลยี พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม |
3(3-0-6) |
การเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจโลจิสติกส์ ความหมาย ความสำคัญ และคุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ การวิเคราะห์ปัญหาและโอกาสของผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ การศึกษาความเป็นไปได้ การแสวงหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ การจัดตั้งธุรกิจใหม่ หลักการเขียนแผนธุรกิจ การวิเคราะห์สถานการณ์ธุรกิจและการแข่งขัน การทำการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ |
3(3-0-6) |
เทคนิคเอ็กเซลขั้นสูงและสเปรดชีท การเรียกดูข้อมูลและจัดการสมุดงาน การเรียกใช้ฟังก์ชันขั้นสูง การสร้างสมการที่ซับซ้อน การส่งออกและนำเข้าข้อมูลจากโปรแกรมต่างๆ การออกแบบสเปรดชีทเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาทางโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การสร้าง วิเคราะห์ และปรับเปลี่ยนข้อมูลจากหลายแหล่งด้วยตารางไพวอต การเขียนโปรแกรมชุดคำสั่ง VBA |
3(2-2-5) |
การจัดการโซ่อุปทานระดับโลก ความสำคัญของโซ่อุปทานที่มีต่อธุรกิจระหว่างประเทศและฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกลยุทธ์ในการจัดการและการบริหารระบบโซ่อุปทานระหว่างประเทศเบื้องต้น เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดการระบบโซ่อุปทานระหว่างประเทศ ตลอดจนบทบาทของกลยุทธ์ด้านการจัดการโซ่อุปทาน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนขององค์กร โดยการประเมินกิจกรรมทางด้านการจัดการ โลจิสติกส์และโซ่อุปทานผ่านทางการประเมิน 3 มิติ คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ และด้านความรับผิดชอบต่อสังคม |
3(3-0-6) |
การลงทุนและการบริหารหลักทรัพย์ การจัดการการเงินส่วนบุคคลและการออม ความรู้เบื้องต้นของการวางแผนการลงทุน สภาพแวดล้อมในการลงทุน ประเภทของสินทรัพย์ทางการเงิน กลไกการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ การลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุน การวิเคราะห์ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ การวิเคราะห์หลักทรัพย์ด้วยข้อมูลในงบการเงิน การจัดกลุ่มหลักทรัพย์เพื่อการลงทุน |
3(3-0-6) |
ธุรกิจพาณิชยนาวี โครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจพาณิชยนาวี ชนิด ขนาด และลักษณะของเรือสินค้า ชนิด ลักษณะและรูปแบบของสินค้า การดำเนินการด้านศุลกากร กระบวนการ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง องค์กรธุรกิจและการบริการสำหรับการ ขนส่งสินค้าทางทะเล อัตราค่าระวางการขนส่งสินค้าทางทะเล เอกสารใบตราส่งสินค้า โครงสร้างบริษัทเรือสินค้า การเช่าเรือสินค้าเพื่อขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ และการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ |
3(3-0-6) |
การเงินสำหรับธุรกิจพาณิชยนาวี องค์ประกอบด้านการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ การจดทะเบียนเรือ การเงินสำหรับตลาดเรือมือสอง การเงินสำหรับตลาดเรือใหม่ มุมมองด้านการลงทุนของธนาคารพาณิชย์ ต่อธุรกิจพาณิชยนาวี ผลผลิตของตลาดการเงินสำหรับธุรกิจพาณิชยนาวี การกู้ยืมซื้อเรือสินค้า เงื่อนไขด้านการประกันและรายได้ กระบวนด้านการเงินสำหรับการซื้อขายเรือมือสอง หน้าที่ความรับผิดชอบของการประกันภัยและการสนับสนุนการลงทุนสำหรับเรือสินค้า |
3(3-0-6) |
การบริหารความปลอดภัยระหว่างประเทศ ข้อตกลงและวิธีปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยของตัวเรือและสินค้า การสร้างหลักประกันความเสี่ยงทั้งในขณะที่เรือเทียบท่าและเดินทาง ระบบความปลอดภัยในการขนถ่ายสินค้า อนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัย กฎหมายเกี่ยวกับการรายงานอันตรายต่อการเดินเรือ กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการปฏิบัติการขนส่งสินค้าอันตราย |
3(3-0-6) |
การขนส่งสินค้าชายฝั่ง การปฏิบัติการขนถ่ายสินค้าชายฝั่ง หน้าที่ของแต่ละอุปกรณ์ขนถ่ายตาม ประเภทวัสดุ การมอบหมายงานและการจัดลำดับงานของอุปกรณ์ขนถ่าย การวางแผน การจัดเตรียม อุปกรณ์จัดเก็บ และการจัดสรรพื้นที่จัดเก็บสินค้าชายฝั่ง นวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบขนถ่ายสินค้าชายฝั่ง |
3(3-0-6) |
การจัดการโลจิสติกส์พาณิชยนาวี รูปแบบและวิธีการขนส่งทางเรือทั้งแม่น้ำภายในประเทศ ชายฝั่ง และทางทะเลระหว่างประเทศ การดำเนินการขนส่งสินค้าทางเรือ ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าทางเรือและองค์กร ที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพตามแนวคิดด้านการจัดการโลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน |
3(3-0-6) |
ธุรกรรมธุรกิจพาณิชยนาวี เอกสารและรายละเอียดของเอกสารที่ใช้ในธุรกิจพาณิชยนาวี ธุรกรรมในการส่งสินค้าออกและการนำสินค้าเข้า การชำระเงินค่าสินค้าผ่านธนาคาร เอกสารที่เกี่ยวข้องเขตการค้าเสรีในประเทศไทยและการตลาดในธุรกิจพาณิชยนาวี |
3(3-0-6) |
การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน | 9 หน่วยกิต |
การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานทางโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน | 9(0-27-13) |
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี
*ให้เลือกเรียนรายวิชาใดๆ จากรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยบูรพา หรือ เลือกเรียนจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นทั้งภายในและภายนอก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต |
6 หน่วยกิต |
ผลการเรียนคาดหวัง
1. อธิบายทฤษฎี และวิธีการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
2. เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
3. เลือกใช้ภาษาเพื่อสื่อสารในงานด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานอย่างเหมาะสม
4. ปฏิบัติตามระเบียบวินัยของนักโลจิสติกส์ได้อย่างถูกต้อง
5. แสดงออกซึ่งความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองและส่วนรวมในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับมอบหมาย
6. สามารถทำงานเป็นทีม มีภาวะความเป็นผู้นำและเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
7. เสนอวิธีการในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานในศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี
การรับสมัคร
มหาวิทยาลัยบูรพามีนโยบายสำคัญในการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาคือ มุ่งคัดเลือกคนเก่ง คนดี มีความสามารถสูง มุ่งกระจายโอกาสสู่ภาคตะวันออก และมุ่งความเสมอภาคเท่าเทียมกันในโอกาศเข้าการศึกษาด้วยนโยบายสำคัญดังกล่าวข้างต้นทำให้มีวิธีการ
คัดเลือกเข้าศึกษา ในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ในรูปแบบที่หลากหลาย และ มีสาระสำคัญในแต่ละวิธีสรุปดังนี้
– โครงการรับตรงในภาคตะวันออก จำนวนที่รับประมาณ ร้อยละ 50 ของจำนวนที่รับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการรับตรงทั่วประเทศ จำนวนรับประมาณร้อยละ 15 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการ Admissions จำนวนรับประมาณร้อยละ 30 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการพิเศษ จำนวนรับประมาณร้อยละ 5 ของจำนวนที่จะรับทั้งหมด
สมัครเข้าศึกษา >> http://regservice.buu.ac.th/index.html
Faculty
Sorry no post found.