Logistics Management

แขนงวิชาการจัดการโลจิสติกส์

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย     : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Logistics and Supply Chain Management

ชื่อปริญญา
ภาษาไทย     : วท.บ. (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)
ภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Logistics and Supply Chain Management)

การประกอบอาชีพ : ทำงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมการบริการ การขนส่งและโลจิสติกส์ เจ้าของธุรกิจในสายงาน ได้แก่ ธุรกิจการขนส่งและการจัดเก็บสินค้า การผลิตรถยนต์และอุปกรณ์ต่างๆ ในตำแหน่ง Purchasing management, Production planning, Transportation and Distribution management, Warehouse operation, Supply chain management เป็นต้น

คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัคร :
1. ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ไม่รับวุฒิเทียบเท่า)
2. ผู้สมัครจะต้องมีผลคะแนน GPAX, TGAT, TPAT และ A-Level
3. มีความประพฤติเรียบร้อย
4. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจหรือโรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
5. มีคุณสมบัติเฉพาะตามที่คณะและสาขาวิชากำหนด
6. ผู้สมัครจะต้องไม่เป็นนิสิตหรือนักศึกษา รหัสนิสิต 67 หรือได้ทำการยืนยันสิทธิ์เคลียริ่งเฮาส์ไปแล้วในรอบที่ผ่านมา หากประสงค์จะสมัครต้องสละสิทธิ์ที่มีอยู่ก่อน ซึ่งการสละสิทธิ์จะต้องทำในระยะเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าการสมัครครั้งนี้เป็นโมฆะ
คุณสมบัติเฉพาะ :
1. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX 6 ภาคเรียน) ไม่ต่ำกว่า 2.75
2. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต และมีผลการเรียนคณิตศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ดี

หลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 123 หน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาทักษะการใช้ชีวิตคุณภาพ 7 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพลเมืองไทยและพลเมืองโลก 10 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่เสริมสมรรถนะการทางานในโลกอนาคต 7 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 93 หน่วยกิต
วิชาแกน 18 หน่วยกิต
แคลคูลัส 3(3-0-6)
กฎหมายธุรกิจ 3(3-0-6)
สถิติเบื้องต้นสำหรับวิทยาศาสตร์ 3(3-0-6)
การบัญชีเพื่อการจัดการในธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์ 3(3-0-6)
หลักเศรษฐศาสตร์ 3(3-0-6)
หลักการตลาด 3(3-0-6)
วิชาบังคับสาขา 36 หน่วยกิต
แรงบันดาลใจในสายงานโลจิสติกส์ 1(0-2-1)
การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 3(3-0-6)
การขนส่งและการกระจายสินค้า 3(3-0-6)
การจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง 3(3-0-6)
การจัดการด้านการปฏิบัติการ 3(3-0-6)
ภาษาอังกฤษโลจิสติกส์ 3(3-0-6)
เทคนิคการนำเสนองาน 2(1-2-3)
การใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองสถานการณ์ 3(2-2-5)
การสังเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ 3(2-2-5)
การจัดการคุณภาพ 3(3-0-6)
จริยธรรมทางธุรกิจ 1(0-2-4)
สัมมนาและการวิจัยด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 2(1-2-3)
วิชาโครงการ 1 3(0-6-3)
วิชาโครงการ 2 3(0-6-3)
วิชาเอกบังคับ
การจัดการการจัดหาในโซ่อุปทาน
     กระบวนการจัดซื้อจัดหาทางภาคอุตสาหกรรม บทบาทของการจัดหาในการจัดการโซ่อุปทาน การจัดซื้อจัดหาแบบอิเล็กทรอนิกส์ การจัดซื้อระหว่างประเทศ การจัดการผู้จัดหา และการวางแผนพัฒนากลยุทธ์จัดหา การวัดประเมินผู้จัดหา การสร้างพันธมิตรกับผู้จัดหา และการพัฒนาการจัดซื้อจัดหาที่ยั่งยืน
3(3-0-6)
การวัดประสิทธิภาพในโซ่อุปทาน
     ความสำคัญของการวัดผลการดำเนินงานโซ่อุปทาน การวัดผลการดำเนินงานในภาคการผลิต ภาคบริการ ภาคการเกษตร เครื่องมือในการประเมินผลการดำเนินงาน อาทิ การวิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงาน การวิเคราะห์ต้นทุน Balance Scorecard, SCOR Model, Logistics Scorecard, การเทียบเคียงสมรรถนะและแนวทางในการปรับปรุงผลการดำเนินงาน
3(3-0-6)
การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์
     การจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับโซ่อุปทานเพื่อนำไปบูรณาการในการปฏิบัติ ประเมินผล และควบคุมกิจการ เพื่อการตัดสินใจในระบบการดำเนินงานของโซ่อุปทาน เพื่อจัดลำดับความสามารถในการแข่งขัน เช่น กลยุทธ์เกี่ยวกับกระบวนการผลิต กลยุทธ์การจัดการขนส่ง กลยุทธ์การจัดการสินค้าคงคลัง กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรขององค์กร รวมทั้งกลยุทธ์ที่สามารถเชื่อมโยงกิจกรรมการดำเนินงานของโลจิสติกส์ในโซ่อุปทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3(3-0-6)
การปฏิบัติการโลจิสติกส์ภาคบริการ
     ลักษณะของการบริการธุรกิจต่างๆ ในอุตสาหกรรมบริการ การจัดการธุรกิจบริการ ของโลจิสติกส์ การนำโลจิสติกส์มาใช้ในอุตสาหกรรมบริการ การออกแบบระบบบริการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขัน
3(3-0-6)
การจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
     ความสำคัญของการเชื่อมโยงการขนส่งและการจัดการการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างประเทศ การจัดการโลจิสติกส์ที่มีต่อธุรกิจระหว่างประเทศ กลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานระหว่างประเทศ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและสิทธิประโยชน์ทางการค้า การดำเนินการพิธีการศุลกากร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ และแนวโน้มด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศในอนาคตและนวัตกรรม
3(3-0-6)
การจัดการรายได้
     กระบวนการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องในเวลาและในราคาที่เหมาะสมให้กับลูกค้า กฎพื้นฐานของการจัดการรายได้ การบริหารความจุ การควบคุมช่วงเวลา การพยากรณ์ความต้องการและรายได้ การลดราคา การจองเกินจำนวน การวิเคราะห์การทดแทน การบริหารช่องทางการตลาด และการกำหนดราคา
3(3-0-6)
วิชาเลือก (ให้เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต)
หัวข้อเลือกสรร
     การนำเสนอและอภิปรายหัวข้อที่น่าสนใจ โดยเน้นเรื่องที่เป็นความรู้ใหม่ทางด้านโลจิสติกส์
2(2-0-4)
นวัตกรรมและสมาร์ทเทคโนโลยีในงานโลจิสติกส์
     นวัตกรรมและเทคโนโลยีอุบัติใหม่ โลจิสติกส์และโซ่อุปทานดิจิทัล ระบบสารสนเทศการจัดการสินค้าคงคลัง ระบบลานและคลังสินค้า ระบบการจัดเก็บข้อมูล ระบบการจัดการยานพาหนะ ระบบอัจฉริยะ การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ อนาคตของเทคโนโลยีโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จริยธรรมในนวัตกรรมเทคโนโลยี พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
3(3-0-6)
การเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจโลจิสติกส์
     ความหมาย ความสำคัญ และคุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ การวิเคราะห์ปัญหาและโอกาสของผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ การศึกษาความเป็นไปได้ การแสวงหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ การจัดตั้งธุรกิจใหม่ หลักการเขียนแผนธุรกิจ การวิเคราะห์สถานการณ์ธุรกิจและการแข่งขัน การทำการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์
3(3-0-6)
เทคนิคเอ็กเซลขั้นสูงและสเปรดชีท
     การเรียกดูข้อมูลและจัดการสมุดงาน การเรียกใช้ฟังก์ชันขั้นสูง การสร้างสมการที่ซับซ้อน การส่งออกและนำเข้าข้อมูลจากโปรแกรมต่างๆ การออกแบบสเปรดชีทเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาทางโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การสร้าง วิเคราะห์ และปรับเปลี่ยนข้อมูลจากหลายแหล่งด้วยตารางไพวอต การเขียนโปรแกรมชุดคำสั่ง VBA
3(2-2-5)
การจัดการโซ่อุปทานระดับโลก
     ความสำคัญของโซ่อุปทานที่มีต่อธุรกิจระหว่างประเทศและฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกลยุทธ์ในการจัดการและการบริหารระบบโซ่อุปทานระหว่างประเทศเบื้องต้น เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดการระบบโซ่อุปทานระหว่างประเทศ ตลอดจนบทบาทของกลยุทธ์ด้านการจัดการโซ่อุปทาน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนขององค์กร โดยการประเมินกิจกรรมทางด้านการจัดการ
โลจิสติกส์และโซ่อุปทานผ่านทางการประเมิน 3 มิติ คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ และด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
3(3-0-6)
การลงทุนและการบริหารหลักทรัพย์
     การจัดการการเงินส่วนบุคคลและการออม ความรู้เบื้องต้นของการวางแผนการลงทุน สภาพแวดล้อมในการลงทุน ประเภทของสินทรัพย์ทางการเงิน กลไกการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ การลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุน การวิเคราะห์ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ การวิเคราะห์หลักทรัพย์ด้วยข้อมูลในงบการเงิน การจัดกลุ่มหลักทรัพย์เพื่อการลงทุน
3(3-0-6)
การขนถ่ายวัสดุและบรรจุภัณฑ์
     หลักการขนถ่ายวัสดุ การวิเคราะห์การขนถ่ายอย่างเป็นระบบ หน้าที่พื้นฐานของ แต่ละอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ การเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการจัดการวัสดุ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เทคนิคเชิงคุณภาพในการลดต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ แนวคิดบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์ หลักการจัดการบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนในโซ่อุปทาน
3(3-0-6)
การจัดการความเสี่ยงในโซ่อุปทาน
     ลักษณะสำคัญของความเสี่ยง แนวโน้มผลกระทบของความเสี่ยงที่มีต่อโซ่อุปทาน เป้าหมายของการบริหารความเสี่ยงในโซ่อุปทาน วิธีการบริหารความเสี่ยง การระบุความเสี่ยงการประเมินความเสี่ยง การตอบสนองความเสี่ยง การติดตามและควบคุมความเสี่ยงในโซ่อุปทาน การสร้างมาตรการบรรเทาโซ่อุปทาน การจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ
3(3-0-6)
การจัดการโลจิสติกส์ในเมือง
     แนวคิดและความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการขนส่งและโลจิสติกส์ในเมือง เพื่อรองรับการเป็นเมืองอัจริยะและเพิ่มประสิทธิภาพกิจกรรมโลจิสติกส์ในเมือง โดยพิจารณา จากผลกระทบทางสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ พลังงานของการขนส่งสินค้าในเมือง รวมทั้งการจราจรแออัดที่ส่งผลต่อการจัดการกิจกรรมโลจิสติกส์ การจัดการอีคอมเมิร์ซ และรูปแบบการส่งมอบสินค้าปลายทาง รวมทั้งรูปแบบเส้นทางและยานพาหนะที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมโลจิสติกส์ในชุมชนเมือง การคาดการณ์ความต้องการในการขนส่งและเดินทางของระบบขนส่งในเขตเมือง
3(3-0-6)
การจัดการโลจิสติกส์อย่างยั่งยืน
     แนวคิดความยั่งยืน กลยุทธ์เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโลจิสติกส์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม การจัดซื้อจัดหาอย่างยั่งยืน โลจิสติกส์ย้อนกลับและการนำกลับมาใช้ใหม่ การวัดผลการดำเนินงานทางโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
3(3-0-6)
การจัดการค้าปลีกและการจัดจำหน่าย
     การจัดการการค้าปลีกและการจัดจำหน่าย หลักการพื้นฐานของการวางแผนเชิง กลยุทธ์และการตัดสินใจในการจัดการธุรกิจค้าปลีก และวิธีการตอบสนองต่อความท้าทายและโอกาสในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของผู้ค้าปลีก ได้แก่ ความสัมพันธ์กับลูกค้าและความสัมพันธ์ของช่องทาง ห่วงโซ่คุณค่า การวางแผนเชิงกลยุทธ์สำหรับธุรกิจค้าปลีก ผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อความสัมพันธ์ของการค้าปลีก แนวทางการค้าปลีกที่เกิดขึ้นใหม่ ประเภทและลักษณะของสถาบันการค้าปลีก ตลอดจนปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการค้าปลีกในตลาดและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับด้านโลจิสติกส์ค้าปลีก
3(3-0-6)
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการโซ่อุปทาน
     ความหมาย และความสำคัญของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการโซ่อุปทาน นำเสนอในรูปแบบของแผนที่และข้อมูลเชิงบรรยายได้ เช่น การจัดการเส้นทางการขนส่ง การเลือกเส้นทางการขนส่งที่เหมาะสม การวิเคราะห์ตำแหน่งของสถานีที่สำคัญในกิจกรรมโลจิสติกส์ เช่น คลังสินค้า โรงงาน และ ระดับการให้บริการของตำแหน่งที่สำคัญในโซ่อุปทาน ด้วยการนำเทคโนโลยีด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาประยุกต์ใช้สำหรับงานด้านโลจิสติกส์
3(3-0-6)
การจัดเส้นทางและตารางเวลายานพาหนะ
     ปัญหาการจัดเส้นทางและตารางเวลายานพาหนะ ความซับซ้อนของปัญหา ความเข้าใจปัญหา การตัดสินใจ การจำลองปัญหา วิธีการแก้ปัญหาแบบต่างๆ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการหาคำตอบ การประเมินทางเลือกของคำตอบ การวางแผนกลยุทธ์การจัดเส้นทางและตารางเวลายานพาหนะ ตัวอย่างกรณีศึกษา
3(3-0-6)
กฎหมายและการประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์
     กฎหมายและการประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์ในภาคการผลิต การขนส่งสินค้า การให้บริการทางโลจิสติกส์ ความรับผิดในผลิตภัณฑ์ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายประกอบธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง ตัวแทนค้าต่าง การแข่งขันทางการค้า กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สินทรัพย์ดิจิทัล การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
3(3-0-6)
การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน 9 หน่วยกิต
การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานทางโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 9(0-27-13)
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

*ให้เลือกเรียนรายวิชาใดๆ จากรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยบูรพา หรือ เลือกเรียนจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นทั้งภายในและภายนอก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

6 หน่วยกิต

 

ผลการเรียนคาดหวัง

1. อธิบายทฤษฎี และวิธีการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
2. เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
3. เลือกใช้ภาษาเพื่อสื่อสารในงานด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานอย่างเหมาะสม
4. ปฏิบัติตามระเบียบวินัยของนักโลจิสติกส์ได้อย่างถูกต้อง
5. แสดงออกซึ่งความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองและส่วนรวมในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับมอบหมาย
6. สามารถทำงานเป็นทีม มีภาวะความเป็นผู้นำและเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
7. เสนอกลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน

การรับสมัคร

มหาวิทยาลัยบูรพามีนโยบายสำคัญในการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาคือ มุ่งคัดเลือกคนเก่ง คนดี มีความสามารถสูง มุ่งกระจายโอกาสสู่ภาคตะวันออก และมุ่งความเสมอภาคเท่าเทียมกันในโอกาศเข้าการศึกษาด้วยนโยบายสำคัญดังกล่าวข้างต้นทำให้มีวิธีการ

คัดเลือกเข้าศึกษา ในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ในรูปแบบที่หลากหลาย และ มีสาระสำคัญในแต่ละวิธีสรุปดังนี้
– โครงการรับตรงในภาคตะวันออก จำนวนที่รับประมาณ ร้อยละ 50 ของจำนวนที่รับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการรับตรงทั่วประเทศ จำนวนรับประมาณร้อยละ 15 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการ Admissions จำนวนรับประมาณร้อยละ 30 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการพิเศษ จำนวนรับประมาณร้อยละ 5 ของจำนวนที่จะรับทั้งหมด

สมัครเข้าศึกษา >> http://regservice.buu.ac.th/index.html

Faculty

Sorry no post found.