ผลการวิจัย

ผลการสำรวจผู้สมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี

ผลการสำรวจผู้สมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีโครงการรับตรงและโครงการพิเศษ คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 ได้มีการสอบสัมภาษณ์เข้าเป็นนิสิต ระดับปริญญาตรีโครงการรับตรงและโครงการพิเศษ โดยมีผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสัมภาษณ์จำนวนทั้งสิ้น 166 คน แต่เข้ามารับการสัมภาษณ์ 92 คน และผ่านการสอบสัมภาษณ์ทั้งหมด 92 คน คิดเป็นร้อยละ 55.42

คณะโลจิสติกส์ ได้จัดทำแบบสอบถามเพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่เข้ารับการสัมภาษณ์ โดยมีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 30 คน ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังต่อไปนี้

 

1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

1.1 แผนการเรียน

จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 30 คน พบว่าเป็นแผนการเรียนวิทย์-คณิต 16 คน แผนการเรียนศิลป์-คำนวณ 14 คน

1.2 จังหวัด

จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 30 คน พบว่าจังหวัดที่มีเด็กมาตอบแบบสอบถามสูงที่สุด คือ ชลบุรี จำนวน 11 คน แผนการเรียนศิลป์-คำนวณ 14 คน  รองลงมาคือ สงขลา, สมุทรปราการ, สุพรรณบุรี, นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร อย่างละ 2 คน ที่เหลือจากจังหวัดอื่นๆอีก 9 คน

1.3 โครงการที่สมัคร

จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 30 คน พบว่าเป็นโครงการรับตรง 12 จังหวัด 13 คน โครงการรับตรงทั่วประเทศและพัฒนากีฬา อย่างละ 6 คน โครงการความสามารถพิเศษ 4 คน และโครงการเพชรตะวันออก 1 คน

1.4 หลักสูตร/สาขาวิชา

จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 30 คน พบว่าสมัครสาขาการค้าระหว่างประเทศฯ 11 คน สาขาอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี 10 คน และสาขาการจัดการโลจิสติกส์ 9 คน

1.5 ภาคการเรียน

จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 30 คน พบว่าเป็นภาคปกติ 23 คน ภาคสมทบ 7 คน

2. การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

เรียงลำดับช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การรับสมัครเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้

  1. เพื่อน
  2. ฝ่ายแนะแนวของโรงเรียน
  3. เว็บไซด์ Dek-D, Enttrong, Twitter
  4. ผู้ปกครอง, รุ่นพี่
  5. อื่นๆ เช่น กิจกรรม Open House

 

3. ข้อมูลการเลือกเรียนในคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

เรียงลำดับเหตุผลที่ผู้สมัครสนใจเลือกศึกษาต่อในคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ดังนี้

  1. รู้สึกอยากเรียน มีความสนใจในหลักสูตร
  2. เป็นคณะยอดนิยม ทำงานได้กว้าง โอกาสตกกงานน้อย
  3. สามารถนำความรู้ไปใช้ต่อยอดในการทำงานได้
  4. เป็นคณะที่มีชื่อเสียง เป็นที่ต้องการของตลาด
  5. เป็นสาขาที่จะประกอบอาชีพได้มั่นคงในอนาคต
  6. สนใจทางด้านการขนส่ง การวางแผนคลังสินค้า การเดินเรือ

 

4. ข้อมูลคู่แข่งของคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

เรียงลำดับสาขาและมหาวิทยาลัยอื่นๆที่ผู้สมัครสนใจเลือกศึกษาต่อ ดังนี้

  1. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  3. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  4. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  5. คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  6. สาขาบริหารและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  7. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  8. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  9. สาขาบริหารและการจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  10. สาขาการจัดการท่าอากาศยาน วิทยาลัยนานาชาติลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

 

5. ข้อมูลการตัดสินใจ ในกรณีผ่านเข้าศึกษาต่อคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

เรียงลำดับเหตุผลของการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ กรณีไม่สละสิทธิ์ดังนี้

  1. มีเป้าหมายและความตั้งใจที่จะเข้ามาศึกษาต่อที่นี่
  2. เป็นมหาวิทยาลัยใกล้บ้าน
  3. มีงานรองรับหลังเรียนจบ

 

 

เรียงลำดับเหตุผลของการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ กรณียังไม่แน่ใจดังนี้

  1. ต้องการรอผลสัมภาษณ์ของมหาวิทยาลัยอื่น
  2. รอคะแนน 9 วิชาสามัญ
  3. รอดูสภาพแวดล้อมและสังคมของมหาวิทยาลัยอื่นประกอบ
  4. มีการตัดสิทธิ์ยื่นผลแอดมิดชั่น
  5. ยังไม่มั่นใจว่าจะชอบคณะนี้หรือไม่

 

โดยจากข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามทั้งหมดจำนวน 30 คนนั้น พบว่ากรณีผ่านเข้าศึกษาต่อแล้วไม่สละสิทธิ์ มีจำนวน 17 คน ส่วนกรณีที่ยังไม่แน่ใจมีจำนวน 13 คน ซึ่งสอดคล้องกับเหตุผลที่ได้อธิบายข้างต้น

บทสรุปผลการวิจัย

  • จากผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ทั้งโครงการรับตรงและความสามารถพิเศษ แต่ละหลักสูตรสามารถนำข้อมูลไปประกอบการวิเคราะห์ AUN QA ข้อที่ 11.5 ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการประเมินสมรรถนะของแต่ละหลักสูตรในคณะ โดยข้อมูลในส่วนนี้จะประกอบด้วย ข้อมูลคณะและสถาบันคู่แข่ง, ข้อมูลการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ, รวมถึงข้อมูลทางสถิติของกลุ่มนักเรียนที่สมัครศึกษาต่อในคณะโลจิสติกส์

ผลการสำรวจผู้สมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท

ผลการสำรวจผู้สมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 มกรามคม พ.ศ. 2560 ได้มีการสอบสัมภาษณ์เข้าเป็นนิสิต ระดับปริญญาโทสาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยมีผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสัมภาษณ์จำนวนทั้งสิ้น 35 คน แต่เข้ามารับการสัมภาษณ์ 34 คน และผ่านการสอบสัมภาษณ์ทั้งหมด 30 คน

คณะโลจิสติกส์ ได้จัดทำแบบสอบถามเพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่เข้ารับการสัมภาษณ์โดยมีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 32 คน ซึ่งผลการสำรวจสรุปได้ดังต่อไปนี้

 

1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

1.1 เพศ

จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 34 คน พบว่าเป็นเพศชาย 10 คน เพศหญิง 21 คน และไม่ได้ระบุในแบบสอบถาม 1 คน

1.2 อายุ

ผลสำรวจอายุของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่าส่วนใหญ่ มีอายุอยู่ระหว่าง 20-25 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ได้ไม่นาน รองลงมาเป็นกลุ่มอายุในช่วง 26-30 ปี

1.3 วุฒิการศึกษาสูงสุด

ผลการศึกษาพบว่า มีผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทแล้ว แต่ยังมีความสนใจที่จะมาศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทั้งนี้อาจจะมีสาเหตุมาจาก สาขาที่จบการศึกษาไม่ตรงกับสายงานที่ทำ จึงทำให้ต้องมาศึกษาเพิ่มเติม

 

1.4 สาขาที่สำเร็จการศึกษา

ผลการศึกษาสาขาที่ผู้ตอบแบบสอบถามสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี พบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอยู่แล้ว ซึ่งมีความต้องการที่จะมาศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นมาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ

1.5 อาชีพปัจจุบัน

ผลการศึกษาพบว่าผู้สมัครส่วนใหญ่ เป็นพนักงานบริษัทเอกชน และสถานที่ทำงานและที่พักอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งเดินทางมายังคณะโลจิสติกส์ได้สะดวกอาชีพปัจจุบัน

1.6 ประสบการณ์ในการทำงาน

1.7 รายได้เฉลี่ย

2. การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

เรียงลำดับช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้

  1. Web site ประจำคณะโลจิสติกส์ (https://buulog.com)
  2. Web site ของมหาวิทยาลัย (http://www.buu.ac.th)
  3. Facebook Page (ปริญญาโท สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  4. เป็นศิษย์เก่าคณะโลจิสติกส์
  5. เพื่อนร่วมงาน
  6. อาจารย์และบุคลากรในคณะโลจิสติกส์

 

3. ข้อมูลการเลือกเรียนในคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

เรียงลำดับเหตุผลที่ผู้สมัครสนใจเลือกศึกษาต่อในคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ดังนี้

  1. มีหลักสูตรที่ตรงตามความต้องการ
  2. มีการจัดการเรียนการสอนวันเสาร์-อาทิตย์
  3. สถาบันมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ
  4. สะดวกในการเดินทาง
  5. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรมีความเหมาะสม
  6. อยู่ใกล้ที่พัก/ที่ทำงาน
  7. เป็นศิษย์เก่าคณะโลจิสติกส์
  8. เป็นความต้องการของหน่วยงานต้นสังกัด

 

4. ความคาดหวังของผู้สมัครที่มีต่อหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

 

 บทสรุปผลการวิจัย

  • จากผลการสำรวจความคิดเห็นของบุคคลที่สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทผ่านโครงการรับตรงของคณะ แต่ละหลักสูตรสามารถนำข้อมูลไปประกอบการวิเคราะห์ AUN QA ข้อที่ 1.3 และ 11.5 ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการประเมินสมรรถนะของแต่ละหลักสูตรและความคาดหวังของผู้สมัครที่มีต่อคณะ โดยข้อมูลในส่วนนี้จะประกอบด้วย คะแนนค่าเฉลี่ยความคาดหวังและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่มีต่อคณะในด้านต่างๆ, ช่องทางในการรับรู้ข่าวสารของคณะ, เหตุผลในการเลือกศึกษาต่อในระดับปริญญาโท รวมถึงข้อมูลทางสถิติของกลุ่มบุคคลที่สมัครศึกษาต่อในคณะโลจิสติกส์

ผลการสำรวจผู้สนใจคณะโลจิสติกส์

ผลการสำรวจบุคคลทั่วไปที่สนใจคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

 

จากการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับมุมมองที่มีต่อคณะโลจิสติกส์จากบุคคลทั่วไป จำนวน 80 คน ผ่านแบบสอบถามออนไลน์นั้น สามารถสรุปผลการสำรวจได้ดังนี้

 

1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

1.1 เพศ

จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 80 คน พบว่าเป็นเพศหญิง 53 คน และเพศชาย 27 คน

1.2 ช่วงอายุ

จากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด พบว่า ช่วงอายุ 18-24 ปี เป็นช่วงอายุที่มีการตอบแบบสอบถามมากที่สุดถึง 36 คน เนื่องมาจากอยู่ในวัยที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี รองลงมาคือช่วงอายุน้อยกว่า 18 ปี จำนวน 30 คน อาจมีสาเหตุมาจากการเตรียมตัวสอบเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย

1.3 หลักสูตรที่ท่านสนใจ

จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 30 คน พบว่าสนใจหลักสูตร ป.ตรี สาขาการจัดการโลจิสติกส์สูงที่สุด จำนวน 33 คน รองลงมาคือหลักสูตร ป.ตรี สาขาการค้าระหว่างประเทศฯ จำนวน 29 คน สามารถวิเคราะห์ได้ว่าแน้วโน้มด้านการค้าระหว่างประเทศและการจัดการโลจิสติกส์ กำลังเป็นที่นิยมของสภาพสังคมและวิชาชีพในปัจจุบัน

2. ข้อมูลการเลือกเรียนในคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

เรียงลำดับเหตุผลที่สนใจหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ดังนี้

  1. อยากทราบข้อมูลหลักสูตรของคณะ
  2. มีความสนใจศึกษาต่อคณะโลจิสติกส์
  3. สามารถนำความรู้ไปใช้ต่อยอดในการทำงานได้
  4. เพื่อเป็นการพัฒนาหลักสูตรและคุณภาพคณะให้ดียิ่งขึ้น
  5. เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมกับหลักสูตรที่ต้องการจะเรียน
  6. สนใจทางด้านการขนส่ง การวางแผนคลังสินค้า

 

3. หลักสูตรฝึกอบรมของคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

เรียงลำดับหลักสูตรที่สนใจให้มีการจัดอบรมเพิ่มในคณะโลจิสติกส์ ดังนี้

  1. การขนส่งทางทะเล
  2. การรับมือกับประชาคมอาเซียนทางด้านโลจิสติกส์
  3. การจัดการโลจิสติกส์
  4. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง
  5. นักโลจิสติกส์มืออาชีพ
  6. การค้าชายแดน
  7. เอกสารการนำเข้าส่งออก, การจัดการขนส่ง และบริหารคลังสินค้า
  8. หลักสูตรระยะสั้น ที่สามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้
  9. กิจกกรรม Open House ของคณะ

 

4. ความคิดเห็นที่มีต่อคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

เรียงลำดับความคิดเห็นของเว็บไซด์ปัจจุบันของคณะ

  1. บทความที่ลงหน้าเว็บมีประโยชน์ต่อผู้อ่าน
  2. อยากให้มีเพิ่มการประกาศข่าวสาร อัพเดทข้อมูลบ่อยๆ
  3. อยากให้ข้อมูลรับสมัครมีรายละเอียดเพิ่มเติมมากกว่านี้
  4. ควรประชาสัมพันธ์กิจกรรมนิสิตในทุกระดับเพิ่มเติม

 

 

 บทสรุปผลการวิจัย

  • จากผลการสำรวจความคิดเห็นบุคคลทั่วไปที่สนใจคณะโลจิสติกส์นั้น แต่ละหลักสูตรสามารถนำข้อมูลไปประกอบการวิเคราะห์ AUN QA ข้อที่ 10.1 และ 10.5 ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการออกแบบและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม เช่น หลักสูตรเพิ่มเติมที่คณะควรจะมี หรือการพัฒนาเว็บไซด์ของคณะให้มีความน่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าชมมากขึ้น