5. การประเมินผู้เรียน (Student Assessment)

แนวทางการอธิบาย

  • การประเมินประกอบด้วย
  1. การรับเข้าผู้เรียน
  2. การติดตามความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องระหว่างการศึกษา
  3.  การทดสอบก่อนสำเร็จการศึกษา
  • หลักสูตรพึงใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายและสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และควรวัด ผลสัมฤทธิ์ของผลการเรียนรู้ที่คาดหวังทั้งหลักสูตรและรายวิชา

 

เอกสารอ้างอิง

  • มคอ.5 หรือ มคอ.6

 

รายละเอียดลิงค์

แนวทางการอธิบาย

  • การประเมินผู้เรียน ประกอบด้วย ช่วงเวลา วิธีการ ข้อบังคับ สัดส่วนการประเมิน เกณฑ์ และเกรด พึงมีความชัดเจนและแจ้งให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ
  • การประเมินควรมีมาตรฐาน ชัดเจน และเชื่อมโยงกันทั้งหลักสูตร

 

เอกสารอ้างอิง

  • มคอ.3 หรือ มคอ.4

 

แหล่งข้อมูล

 

รายละเอียดลิงค์

แนวทางการอธิบาย

  • มีการใช้กระบวนการหรือวิธีการต่าง ๆ เพื่อประกันว่าการประเมินผู้เรียนมีความเที่ยงตรง ความน่าเชื่อถือและเป็นธรรม
  • ความเที่ยงตรง และความน่าเชื่อถือของวิธีการประเมินควรมีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และประเมินผลวิธีการประเมินอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาวิธีการประเมินแบบใหม่ขึ้น และได้นำไปทดลองใช้

 

เอกสารอ้างอิง

  • มคอ.3/4
  • มคอ.5/6

 

แหล่งข้อมูล

 

 

รายละเอียดลิงค์

แนวทางการอธิบาย

  • มีการวางแผนการประเมินผลที่หลากหลาย เพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ของการประเมินผลวินิจฉัยการประเมินผลระหว่างการเรียนรู้ และการประเมินผลเมื่อเสร็จสิ้นการเรียนรู้

 

เอกสารอ้างอิง

  • มคอ.5

 

แหล่งข้อมูล

  • ผลประเมินการเรียนการสอนของผู้สอน

 

ายละเอียดลิงค์

แนวทางการอธิบาย

  • ผู้เรียนเข้าถึงกระบวนการร้องทุกข์อย่างเหมาะสม

 

ตัวอย่าง 

ภายใต้ระบบ ISO 9001:2008 คณะโลจิสติกส์ได้มีการกำหนดระเบียบปฏิบัติงานของคณะฯ ไว้ในเอกสาร Procedure หมายเลข Q-QMR-03 การควบคุมปฏิบัติการแก้ไขและการป้องกัน (Corrective Action and Prevention Action) โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับข้อร้องเรียนเอาไว้ว่า ผู้พบปัญหาหรือผู้ที่รับผิดชอบในการรับข้อร้องเรียนจากลูกค้าจะทำการแจ้งข้อร้องเรียนโดยการบันทึกรายละเอียดลงในคำร้องขอให้ดำเนินการแก้ไข (F-QMR-07) และนำส่งให้แก่ QMR เพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป (ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติคณะฯ ได้กำหนดช่องทางให้ผู้เรียนและผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ สามารถเข้าถึงกระบวนการร้องทุกข์ที่ทางคณะฯ ได้จัดไว้ ได้แก่ การส่งข้อร้องเรียนเป็นหนังสือโดยยื่นผ่านสารบรรณของคณะฯ การส่งข้อร้องเรียนที่ตู้รับข้อร้องเรียนซึ่งจัดตั้งไว้ที่หน้าห้องสำนักงานคณบดีของคณะฯ การส่งข้อร้องเรียนผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ตามที่อยู่ (e-mail address) ซึ่งได้ระบุไว้ในเว็ปไซต์ของคณะฯ การส่งข้อร้องเรียนผ่านทางหน้าเพจเฟซบุ๊คของคณะฯ เป็นต้น รวมทั้งการประเมินผ่านแบบประเมินความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้) ซึ่งเมื่อทางผู้แทนฝ่ายบริหารคุณภาพ (Quality Management Representative: QMR) ได้รับใบคำร้องขอให้ดำเนินการแก้ไข (F-QMR-07) ดังกล่าวแล้วก็จะนำมาลงทะเบียนสถานะแจ้งดำเนินการแก้ไข (F-QMR-08) เพื่อใช้ข้อมูลดังกล่าวในการติดตามการดำเนินการตาม F-QMR-07 ต่อไป โดยลงบันทึกคำร้องไว้ตามปัญหาที่เกิดขึ้นตามรหัสที่ได้กำหนดไว้ใน เอกสาร Procedure หมายเลข Q-QMR-03 การควบคุมปฏิบัติการแก้ไขและการป้องกัน (Corrective Action and Prevention Action)

คณะฯ เมื่อได้รับข้อร้องเรียนจากช่องทางต่างๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ คณะกรรมการ ISO 9001:2008 ที่เกี่ยวข้อง (QMR / DCC / ADM / EDU) จะนำเสนอข้อร้องเรียนดังกล่าวไปยัง QMR เพื่อที่ QMR จะได้ดำเนินการแก้ไขตามที่เห็นสมควรต่อไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้นและมีความเกี่ยวข้องกับหลักสูตรฯ QMR จะปรึกษาหารือกับอาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะผู้บริหาร (ถ้าจำเป็น) เพื่อให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น โดย QMR จะติดตามการดำเนินการแก้ไขดังกล่าว (ตัวอย่างของข้อร้องเรียน : บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรฯ ร้องเรียนกรณีที่กรมศุลกากรไม่ยอมรับสมัครด้วยวุฒิที่จบมาจากคณะโลจิสติกส์ ซึ่งกรณีเช่นว่านี้ หลักสูตรฯ และผู้บริหารคณะ ได้ทำหนังสือชี้แจงรายละเอียดหลักสูตรไปยังกรมศุลกากรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว)

คณะฯ มีการตรวจติดตามการดำเนินงานตามกระบวนการต่างๆ ภายใต้ระบบ ISO 9001:2008 โดยมีการตรวจติดตามคุณภาพภายใน (Internal Audit) มีการทบทวนโดยฝ่ายบริหารคุณภาพ (Management Review) และการตรวจประเมินจากหน่วยงานผู้ออกใบรับรองมาตรฐานคุณภาพ (Global Group) โดยในส่วนของกระบวนการว่าด้วยการรับข้อร้องเรียนและการดำเนินการแก้ไขตาม Q-QMR-03 นั้นไม่มีข้อบกพร่องแต่อย่างใด

การบริหารหลักสูตรที่ผ่านมาพบว่า ปัญหาส่วนใหญ่ของนิสิตคือ ความกังวลในเรื่องของรายวิชาที่จะนำมาเทียบโอน ว่าวิชาที่ตนเองเรียนมาในระดับ ปวส. จะสามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้หรือไม่ จึงมีโอกาสเข้ามาปรึกษาหารือกับอาจารย์ที่ปรึกษาบ่อยครั้ง

จากความกังวลดังกล่าว อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมกับตัวแทนนิสิต ได้มีการพูดคุยและแจ้งเงื่อนไขการเทียบโอนเพื่อให้นิสิตทราบข้อมูลและเกณฑ์ในการเทียบ โดยให้นิสิตประเมินตนเองในเบื้องต้นก่อนว่า มีรายวิชาใดที่สามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้บ้างก่อนที่จะทำการยื่นเอกสารขอเทียบรายวิชา เพื่อไม่ให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเทียบโอน ทั้งนี้ในปีการศึกษา 2559 นี้ จะเปิดรับนิสิตเพื่อเข้าศึกษาต่อในสาขาการค้าระหว่างประเทศและการจัดการโลจิสติกส์ โดยช่องทางการรับเข้าของผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับ ปวส. อาจารย์ประจำหลักสูตรได้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับสาขาธุรกิจพาณิชยนาวีดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นจึงได้หารือเพื่อพิจารณาเงื่อนไขและเกณฑ์ในการเทียบโอนที่ชัดเจน และออกเป็นประกาศจากคณะโลจิสติกส์ต่อไป เพื่อลดปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

 

เอกสารอ้างอิงเพิ่มเติม

  • นิสิตสามารถประเมินผลการสอนของผู้สอนได้

 

แหล่งข้อมูล

 

รายละเอียดลิงค์