Inter-Trade and Logistics
แขนงวิชาการค้าและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศและการจัดการโลจิสติกส์ (วท.บ.) 4 ปี | ไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Logistics and Supply Chain Management
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย : วท.บ. (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)
ภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Logistics and Supply Chain Management)

ปรัชญา
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทย์-คณิต หรือ แผนการเรียนภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ (ศิลป์-คำนวณ) มีความประพฤติดี ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งเป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือเป็นโรคที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และตามที่มหาวิทยาลัยจะประกาศเพิ่มเติม
โครงสร้างหลักสูตร
รายละเอียดโครงสร้างหลักสูตร ดาวน์โหลดที่นี่
หลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต
* เลือกเรียนจากรายวิชาที่เปิดสอนในคณะโลจิสติกส์ได้อีกไม่เกิน 6 หน่วยกิต ทั้งนี้โดยความเห็นชอบของประธานสาขาวิชา
1. มีความซื่อสัตย์ มีวินัย มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ
2. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่มีทั้งต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม
3. รู้และเข้าใจในหลักการ ทฤษฎี ระเบียบ ข้อตกลง หลักการบริหารธุรกิจ และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศและการจัดการโลจิสติกส์
4. ประยุกต์ศาสตร์ทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ในการดำเนินกิจกรรมทางการค้าระหว่างประเทศ
5. อธิบายลักษณะและประเมินความเสี่ยงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจทั้งภายนอกและภายในที่อาจมีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศและการจัดการโลจิสติกส์
6. เสนอแนวทางสำหรับการวางแผนกลยุทธ์ทางการค้าระหว่างประเทศให้เหมาะสมกับบริบทและหลักสากล
7. เข้าใจหลักการและนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในงานทางด้านการค้าระหว่างประเทศและการจัดการโลจิสติกส์
8. มีทักษะในการนำเสนอ การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การสร้างความสัมพันธ์อันดีและการเจรจาต่อรองในการทำการค้าระหว่างประเทศ
9. มีทักษะในการพยากรณ์สถานการณ์ทางการค้าระหว่างประเทศโดยอาศัยข้อมูลเชิงปริมาณ
การรับสมัคร
มหาวิทยาลัยบูรพามีนโยบายสำคัญในการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาคือ มุ่งคัดเลือกคนเก่ง คนดี มีความสามารถสูง มุ่งกระจายโอกาสสู่ภาคตะวันออก และมุ่งความเสมอภาคเท่าเทียมกันในโอกาศเข้าการศึกษาด้วยนโยบายสำคัญดังกล่าวข้างต้นทำให้มีวิธีการ
คัดเลือกเข้าศึกษา ในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ในรูปแบบที่หลากหลาย และ มีสาระสำคัญในแต่ละวิธีสรุปดังนี้
– โครงการรับตรงในภาคตะวันออก จำนวนที่รับประมาณ ร้อยละ 50 ของจำนวนที่รับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการรับตรงทั่วประเทศ จำนวนรับประมาณร้อยละ 15 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการ Admissions จำนวนรับประมาณร้อยละ 30 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการพิเศษ จำนวนรับประมาณร้อยละ 5 ของจำนวนที่จะรับทั้งหมด