Cruise Business
แขนงวิชาธุรกิจเรือสำราญ (หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี)
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต ธุรกิจการขนส่ง (ธุรกิจเรือสำราญ)
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration in Transport Business (Cruise Business)
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย : บธ.บ. (ธุรกิจการขนส่ง)
ภาษาอังกฤษ : B.B.A. (Transport Business)
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา แบบเหมาจ่าย ระดับปริญญาตรี คณะโลจิสติกส์ พ.ศ. 2563 หลักสูตร ต่อเนื่อง 2 ปี เรียนเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์
ภาค | อัตรา (บาท) | |
---|---|---|
ภาคต้น / ภาคปลาย | ภาคการศึกษาละ | 26,000 บาท |
ภาคฤดูร้อน | ภาคการศึกษาละ | 13,000 บาท |
สมัครผ่านเว็บไซต์ >> http://regservice.buu.ac.th
คุณสมบัติเฉพาะ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญา ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ (สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี การโรงแรมและการท่องเที่ยว ฯลฯ)
- วิชาเอกธุรกิจเรือสำราญ ควรมีประสบการณ์ทำงานในธุรกิจโรงแรมหรือที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานการทำงานบนเรือสำราญ
- ต้องสอบผ่านรายวิชาศึกษาทั่วไป (รายวิชาหมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง) ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต
- มีประสบการณ์ทำงาน ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับแขนงวิชา กรณีเลือกเรียนธุรกิจเรือสำราญต้องเคยผ่านงาน หรือกำลังปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
หลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 85 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร ดาวน์โหลดที่นี่
|
1. มีความรู้และวิเคราะห์ด้านการจัดการธุรกิจเรือสำราญ ทั้งระบบหน้าท่าและบนเรือสำราญ
2. มีความรู้ด้านการติดต่อสื่อสาร มีทักษะด้านการใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษอย่างดี
3. แสดงออกถึงกิริยามารยาทที่ดี มีจิตใจช่วยเหลือผู้อื่น
4. แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
5. แสดงออกถึงความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
6. สามารถทำงานกับผู้ร่วมงานหลากหลายวัฒนธรรมและที่แตกต่างกัน
7. สามารถกำหนดและแก้ปัญหาในการทำงานกลุ่ม และรู้จักการแบ่งงานและความรับผิดชอบ
8. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน
9. สามารถปฏิบัติงานบนเรือโดยสารทั้งภายในและระหว่างประเทศตามมาตรฐาน IMO
การรับสมัคร
มหาวิทยาลัยบูรพามีนโยบายสำคัญในการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาคือ มุ่งคัดเลือกคนเก่ง คนดี มีความสามารถสูง มุ่งกระจายโอกาสสู่ภาคตะวันออก และมุ่งความเสมอภาคเท่าเทียมกันในโอกาศเข้าการศึกษาด้วยนโยบายสำคัญดังกล่าวข้างต้นทำให้มีวิธีการ
คัดเลือกเข้าศึกษา ในระดับปริญญาตรี ในรูปแบบที่หลากหลาย และ มีสาระสำคัญในแต่ละวิธีสรุปดังนี้
– โครงการรับตรงในภาคตะวันออก จำนวนที่รับประมาณ ร้อยละ 50 ของจำนวนที่รับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการรับตรงทั่วประเทศ จำนวนรับประมาณร้อยละ 15 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการ Admissions จำนวนรับประมาณร้อยละ 30 ของจำนวนที่จะรับเข้าศึกษาทั้งหมด
– โครงการพิเศษ จำนวนรับประมาณร้อยละ 5 ของจำนวนที่จะรับทั้งหมด
สำหรับภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดรับบุคคลเข้าศึกษาทั้งหลักสูตรต่อเนื่อง และหลักสูตร 4 ปีสำหรับผู้ที่มีผลการเรียนดี และหากมีจำนวนที่สามารถรับได้ในภาคปกติ จะได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการประจำคณะ หรือ วิทยาลัยในการเปลี่ยนแปลงสถานภาพเป็นนิสิตภาคปกติตามความเหมาะสม
โดย สามารถติดตามข้อมูลการรับสมัครได้ที่
กองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา http://regservice.buu.ac.th/
Faculty
Sorry no post found.